การพัฒนาแอปพลิเคชันการเขียนโปรแกรมด้วยบล็อกภาพผ่านมือถือเพื่อการควบคุมหุ่นยนต์เดินตามเส้นขนาดเล็ก

Main Article Content

เจษฎา โพนแก้ว

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันการเขียนโปรแกรมด้วยบล็อกภาพผ่านมือถือเพื่อการควบคุมหุ่นยนต์เดินตามเส้นขนาดเล็ก 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้งานแอปพลิเคชัน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้งานแอปพลิเคชัน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน และเยาวชนที่เข้าร่วมงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แอปพลิเคชันการเขียนโปรแกรมด้วยบล็อกภาพผ่านมือถือ และหุ่นยนต์เดินตามเส้นขนาดเล็ก 2) แบบประเมินประสิทธิภาพการใช้งานแอปพลิเคชัน และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานแอปพลิเคชัน สถิตที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันการเขียนโปรแกรมด้วยบล็อกภาพผ่านมือถือเพื่อการควบคุมหุ่นยนต์เดินตามเส้นขนาดเล็ก พบว่า แอปพลิเคชันมีองค์ประกอบในการทำงาน 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแอปพลิเคชันการเขียนโปรแกรมด้วยบล็อกภาพ และส่วนหุ่นยนต์เดินตามเส้น ในส่วนแอปพลิเคชันถูกพัฒนาด้วยภาษา JAVA ภายใต้สภาพแวดล้อมในการพัฒนา คือ Android Studio และหุ่นยนต์เดินตามเส้นประกอบด้วยฮาร์ดแวร์โครงสร้างหุ่นยนต์ที่พิมพ์ผ่านเครื่องพิมพ์ 3 มิติ และฮาร์ดแวร์อิเล็กทรอนิกส์ในการทำงาน ได้แก่ เซอร์โว มอเตอร์ ล้อ วงจรควบคุม บอร์ดขยายการเชื่อมต่อ และอุปกรณ์บลูทูธ 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพการใช้งานแอปพลิเคชันจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่าระบบมีความถูกต้องในการทำงานคิดเป็นร้อยละ 100 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้งานแอปพลิเคชัน พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Wessling, Brianna. (2022). World Robotics Reports. Frankfurt: The International Federation of Robotics.

ชิต เหล่าวัฒนา. (2551). จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค ของหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติไทย. กรุงเทพฯ: MGR Online.

Rahaman, M. M., Haque, M., Shekdar, R., & Ziaul, K. (2020). Educational Robot for Learning Programming

through Blockly based Mobile Application. Journal of Technological Science & Engineering, 1-25.

Saleiro, M., Carmo, B., Rodrigues, J., & Buf, J. (2013). A Low-Cost Classroom-Oriented Educational Robotics

System. International Conference on Social Robotics (pp. 74-83). UK: Springer.

Weintrop, D., Shepherd, D., Francis, P., & Franklin, D. (2017). Blockly goes to work: Block-based programming

For industrial robots. 2014 IEEE/ASME 10th International Conference on Mechatronic and Embedded Systems

and Applications (MESA) (pp. 29-36). Austria: IEEE.

ธีรพงศ์ สงผัด และ นภวรรณ ชาติมนตรี. (2563). การพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อควบคุมหุ่นฮิวแมนนอยด์แบบไร้สาย. วารสารวิชาการ

การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(2), 15-23.

ณัฐพงศ์ พลสยม และ สารัส อุทัยเรือง. (2564). การพัฒนาหุ่นยนต์ซูโม่บังคับแบบรีโมทด้วยเทคโนโลยีไร้สาย. วารสารวิชาการ

การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(2), 88-100.

วรปภา อารีราษฎร์, อภิชาต เหล็กดี และธเนศ ยืนสุข. (2558). ผลการพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมควบคุมด้วยภาษาซี โดยใช้

เรสพ์เบอรรี่ไพ. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 2(2), 64-71.

ปรียะดา ภัทรสัจจธรรม. (2559). การออกแบบการเรียนการสอนเชิงระบบโดยใช้แบบจำลอง ADDIE : การพัฒนา. วารสารศึกษา

ศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13(2), 6-17.

Likert, R. (1967). Attitude Theory and Measurement. In The Method of Constructing and Attitude Scale

(pp. 90-95). New York: Wiley & Son.