การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการสื่อสารทางการแพทย์ ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับตัวแทนบริษัทประกันชีวิต

Main Article Content

บุญยฤทธิฺ์ ศรีปาน
ปวีณา ปรีชาญากุล

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการสื่อสารทางการแพทย์ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และตัวแทนบริษัทประกันชีวิต และ 2) ศึกษาผลการยอมรับเทคโนโลยีหลังจากการใช้งานระบบสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เจ้าหน้าที่แผนกประกันของโรงพยาบาลเอกชน ดำเนินการวิจัยโดยการพัฒนาระบบสารสนเทศบนสถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์แบบมัลติเทียร์ และนำมาใช้งานโดยบุคลากรทางการแพทย์จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ระบบสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร  แบบประเมิน
การยอมรับเทคโนโลยี และแบบสังเกตการมีส่วนร่วม


            ผลจากการวิจัยพบว่า 1) ระบบสารสนเทศเพื่อการสื่อสารทางการแพทย์ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และตัวแทนบริษัทประกันชีวิต พบว่าระบบสารสนเทศมีการแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ระบบย่อย ได้แก่ระบบบันทึกข้อมูลตัวแทนบริษัทประกันชีวิต ระบบจัดการคำถามและคำตอบทางการแพทย์ และระบบรายงานผลข้อมูลสื่อสารทางการแพทย์ และ 2) ผลการยอมรับเทคโนโลยีหลังจากการใช้งานระบบสารสนเทศพบว่า ผู้ใช้งานมีการยอมรับเทคโนโลยีอยู่ในระดับมาก เนื่องจากระบบสารสนเทศสามารถจัดเก็บข้อมูลรายชื่อตัวแทนบริษัทประกันชีวิต ในช่วงเดือน มกราคม 2565 ถึงเดือน ตุลาคม 2565 ได้จำนวน 258 รายชื่อ และมีจำนวนคำถามทางการแพทย์ 2,872 คำถาม เมื่อเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันกับปี พ.ศ. 2564 มีจำนวนคำถามเพิ่มขึ้น 31% ดั้งนั้นระบบสารสนเทศเพื่อการสื่อสารทางการแพทย์เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยให้เข้าถึงปัญหาของผู้ป่วยผ่านทางตัวแทนบริษัทประกันชีวิตได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ. (2565). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. กระทรวงการพัฒนาสังคมและ

ความมั่นคงของมนุษย์. จาก. https://www.dop.go.th/th/know/15/926

สมาคมประกันชีวิตไทย. (2565). รายงานสถิติธุรกิจประกันชีวิต. จาก. https://www.tlaa.org/page_statistics_new.php.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. (2565). จาก https://www.1213.or.th/th/others/

insurances/Pages/ lifeinsurance.aspx.

ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย. (2565). รายได้ รพ. เอกชนปี 65 โตต่อเนื่องตอบรับเปิดประเทศ ส่งสัญญาณปี 66 บวกต่อ.

Hugh E. W. and David, L. (2002). Web Database Applications with PHP & MySQL. O'Reilly Media, Inc. United States of America.

วุฒิ สุขเจริญ. (2562). วิจัยการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จาก https://www.ryt9.com/ s/iq01/3352266.

Kruchten, P. (1995). Architectural Blueprints The “4+1” View Model of Software Architecture Paper. Software

Engineering Journal. IEEE Software. 12(6), 45-50.

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2547). ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: แซทโฟร์ พริ้นติ้ง.

Davis, F. D. (1993). User Acceptance of Information Technology: System Characteristics, User Perceptions and Behavioral Impacts. International Journal of Man-Machine Studies, 38, 475-487.

António, C. et al. (2021). Development of FHIR based web applications for appointment management in

healthcare. Procedia Computer Science Journal. The 2nd International Workshop on Hospital 4.0 (Hospital),

March 23 - 26, 2021, Warsaw, Poland.

Kaman, F. and Yi, Z. (2022). Mobile health technology: a novel tool in chronic disease management. Intelligent Medicine Journal. 2(1), 41-47.

Kotler, P. T. and Armstrong, G. (2013). Principles of Marketing (15th ed.). Upper Saddle, N.J.: Pearson.

พิรภพ จันทร์แสนตอ บัณฑิต บุษบา อนุรักษ์ อาทิตย์กวิน และอารยา อริยา. (2563). การยอมรับเทคโนโลยีของเว็บไซต์พาณิชย์

อิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า กรณีศึกษาเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิสาหกิจชุมชน กลุ่ม น้ำพริกเผาผลไม้

ตามฤดูกาล บ้านเวียงสวรรค์ ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ.

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 6(2), 82-94.

Kotler, P. T. (1965). Behavioral models for analyzing buyers. Journal of marketing, 29(4), From

https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/002224296502900408