การพัฒนาเครื่องให้อาหารสุนัขอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

Main Article Content

ปิติพล พลพบู
ธานิล ม่วงพูล
วริยา เย็นเปิง

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเครื่องให้อาหารสุนัขอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง 2) ทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องให้อาหารสุนัขอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง และ
3) ศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้เครื่องให้อาหารสุนัขอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เลี้ยงสุนัขในเขตอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องให้อาหารสุนัขอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของเครื่องให้อาหารสุนัขอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง และ 3) แบบสอบถามการยอมรับเทคโนโลยีของกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) เครื่องให้อาหารสุนัขอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง การทำงานประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ (1) ส่วนควบคุมและประมวล (2) การตรวจสอบปริมาณอาหารทั้งในถังใส่อาหารและถาดอาหารสำหรับสุนัข (3) ส่วนกำหนดค่าสำหรับการจ่ายอาหาร (4) ส่วนแสดงผล และ (5) ส่วนแจ้งเตือน เครื่องให้อาหารสุนัขอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งสามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และสามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของเครื่องให้อาหารสุนัข พบว่า การทดสอบการทำงานของระบบ 10 ครั้ง ระบบสามารถทำงานได้ถูกต้องทั้ง 10 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 100 ของการทดสอบ และผลการประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ผลการยอมรับเทคโนโลยีของกลุ่มตัวอย่างตามทฤษฎี TAM พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการทดลองใช้เครื่องให้อาหารสุนัข อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรวัฒน์ แท่นทอง สุภลักษณ์ ตาแก้ว และกนกลักษณ์ ศรพระขรรค์ชัย. (2561). การประยุกต์ใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์และ

เซ็นเซอร์สำหรับเครื่องให้อาหารแมว. ใน การประชุมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 41. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัย

อุบลราชธานี.

จิรภาส ทองเต็ม. (2558). ระบบให้อาหารสัตว์เลี้ยงอัตโนมัติด้วยราสเบอร์รี่พาย. (ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต).กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

ธานิล ม่วงพูล และวริยา เย็นเปิง. (2022). การพัฒนาระบบคัดแยกขยะรีไซเคิลด้วยเทคโนโลยีไอโอที. วารสารวิชาการ

"การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ", 8(2), 7–16.

รุจกา สถิรางกูร, พัลลภา มิตรสงเคราะห์ และอำนวย วิชญะลาส. (2564). การพัฒนาต้นแบบระบบการตรวจสอบการเข้าเรียนโดย

ใช้ IoT และ RFID. วารสารวิชาการ “การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม”, 8(2), 34-47.

Akar, H. (2020). The effect of smart board use on academic achievement: A meta-analytical and thematic study.

International Journal of Education in Mathematics, Science and Technology (IJEMST), 8(3), 261-273.

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร การให้บริการด้านการแพทย์

ผ่านอินเทอร์เน็ตและสมาร์ตโฟน. จาก https://www.deede.go.th/ download/general64/4Medical.pdf.

Dominika Šulyová and Milan Kubina. (2022). TRENDS IN SMART CITIES 2022. From

https://www.researchgate.net/publication/361906927_TRENDS_IN_SMART_CITIES_2022

ธานิล ม่วงพูล และอวยไชย อินทรสมบัติ. (2560). การพัฒนาระบบระบายความร้อนด้วยท่อทำความเย็นแบบท่อทองแดงร่วมกับ

ไมโครคอนโทรลเลอร์. วารสารวิชาการ “การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม”, 4(2), 47-56.

Anjani, A. G., Sunarto, Grisviani, P., Royan, R., Wibowo, K. M., Romadhona, G., Sapundani, R., Mulyanto, A.,

Setiawan, I. Jumrianto, J. and Prasath, N. (2022). Application of IoT using nodeMCU ESP8266 on the Syringe

Pump Device to Increase Patient Safety. Indonesian Journal of Electronics, Electromedical Engineering, and

Medical Informatics (IJEEEMI), 4(1), 23-27.

Tiwari, M. S., Hawal, S. M., Mhatre, N. N., Bhosale, A. R. and Bhaumik, M. (2018). Automatic Pet Feeder Using

Arduino. International Journal of Innovative Research in Science, Engineering and Technology, 7(3),2891-2897.

Ash Shiddieqy, R. H., Saputro, B. A., Dandha, F. O. and Rusdiyana, L. (2020). Automated Pet Feeder using 3D

Printer with Opened Source Control System. The Journal of Engineering, 6(3), 58-62.

Vineeth S., Renukumar B. R., Sneha V. C., Ganjihal, P. and Rani, B. (2020). Automatic Pet Food Dispenser

using Digital Image Processing. International Journal of Engineering Research & Technology (IJERT), 9(5), 558-

วรปภา อารีราษฎร์. (2557). นวัตกรรมระบบการจัดกลุ่มสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต).

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

จิรวัฒน์ แท่นทอง สุภลักษณ์ ตาแก้ว และกนกลักษณ์ ศรพระขรรค์ชัย. (2562). พัฒนาโมบายแอปพลิเคชันสำหรับควบคุมเครื่อง

ให้อาหารสัตว์เลี้ยงด้วยการ ประยุกต์ใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง. Journal of

Information Science and Technology, 9(1), 28-40.

สุรเทพ แป้นเกิด, วาสนา ด้วงเหมือน และสุภษี ดวงใส. (2565). เครื่องต้นแบบในการบันทึกสัญญาณชีพ ด้วยอินเทอร์เน็ตของสรรพ

สิ่ง. วารสารวิชาการ “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ”, 8(2), 17-27.