การพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลการลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม MSU Open House มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ด้วยเทคโนโลยีรหัสคิวอาร์

Main Article Content

นพนัย เนื่องอุดม

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลการลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม MSU Open House มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ด้วยเทคโนโลยีรหัสคิวอาร์ เพื่อรองรับการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียนที่สนใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการข้อมูลการลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม MSU Open House มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ด้วยเทคโนโลยีรหัสคิวอาร์ โดยแบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ ด้านตรงตามความต้องการ  ด้านสามารถทำงานได้ตามหน้าที่ ด้านความง่ายต่อการใช้งาน ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบบริหารจัดการข้อมูลการลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม MSU Open House มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ด้วยเทคโนโลยีรหัสคิวอาร์ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน คัดเลือกโดยใช้วิธีเฉพาะเจาะจง และ นักเรียน ผู้ปกครองและบุคคลภายนอก ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 1,471 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศ และ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เทคโนโลยีที่เลือกใช้ในงานวิจัยนี้คือ รหัสคิวอาร์ ซึ่งผู้วิจัยมองเห็นว่า รหัสคิวอาร์จะช่วยให้กระบวนการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือลดความผิดพลาดในการป้อนข้อมูล ประหยัดทรัพยากรและมีความปลอดภัย


                  ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการออกแบบและพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลการลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม MSU Open House มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ด้วยเทคโนโลยีรหัสคิวอาร์ พบว่า ผู้ใช้งานระบบทั้งหมด  แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) นักเรียน (2) บุคคลภายนอก ผู้ปกครอง (3) เจ้าหน้าที่ (4) ผู้บริหาร 2) ประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการข้อมูลการลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม MSU Open House มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ด้วยเทคโนโลยีรหัสคิวอาร์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.78±0.30 พบว่า ด้านตรงตามความต้องการและด้านความง่ายต่อการใช้งานอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผู้วิจัยสามารถนำเทคโนโลยีรหัสคิวอาร์ไปใช้ประโยชน์ในด้านการระบุข้อมูลตัวบุคคลในกิจกรรมอื่นๆได้ เพื่อความง่ายและรวดเร็วต่อการใช้งานของการจัดกิจกรรม และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบที่มีต่อระบบบริหารจัดการข้อมูลการลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม MSU Open House มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ด้วยเทคโนโลยีรหัสคิวอาร์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70±0.53 พบว่าข้อที่อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ระบบใช้งานง่ายสะดวกและไม่ซับซ้อน ซึ่งเป็นผลเชิงประจักษ์ของการนำเทคโนโลยีรหัสคิวอาร์มาใช้งาน ทำให้ลดขั้นตอนในการลงทะเบียนและบริหารจัดการข้อมูลได้ง่าย สะดวกและไม่ซับซ้อนของขั้นตอนการเข้าร่วมกิจกรรม และผลการศึกษาความพึงพอใจที่น้อยที่สุด คือ ความครบถ้วน ถูกต้องของข้อมูล ซึ่งอาจจะเกิดจากการเผยแพร่ข้อมูลและรายละเอียดในการจัดกิจกรรม ทางผู้วิจัยจะได้นำข้อมูลนี้ไปนำเสนอคณะกรรมการผู้รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไปให้มีความครบถ้วนและถูกต้องของข้อมูลต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (ม.ป.ป). ปณิธาน. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.msu.ac.th/อัตลักษณ์-มมส/ปรัชญา-ปณิธาน

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (ม.ป.ป). พันธกิจ. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.msu.ac.th/วสยทศน-พนธกจ

ศุภวรรณ อาจกล้า. (2561). ระบบจัดเก็บข้อมูลผู้เข้าร่วมกิจกรรม (Activities Database): เครื่องมือเพื่อการบริการ/จัดการกิจกรรมส่งเสริมการใช้บริการสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. PULINET Journal. 5(1), 215- 222.

ศุภชัย ชัยประเสริฐ, เพ็ญศรี อมรศิลปชัย และปฐมาภรณ์ เถาว์พัน. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศงานกิจกรรมนักศึกษาผ่านเว็บแอปพลิเคชัน กรณีศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตแห่งชาติ ครั้งที่ 47. (น. 1155-1166). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

รณกร แสงสุวรรณ, เพ็ญณี หวังเมธีกุล, สุนิดา รัตโนทยานนท์. (2562). การพัฒนาระบบบันทึกชื่อเข้าชั้นเรียนด้วยคิวอาร์โค้ด Development of a Classroom Attendance Checking System Using QR Code. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 5(2), 27-40.

เล็ก เบาราญ. (2560). ระบบการจัดการลงทะเบียนคอร์สสัมมนาด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด. (สารนิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th

พิสุทธา อารีราษฎร์. (2550). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.

วันชัย สีหะวงษ์, ภูริทัต ปัญญาวัน, สุภัทรา เกิดเมฆ, วิทยา ศรีกุล และสนั่น จันทร์พรม. (2565). ระบบตรวจสอบการเข้าชั้นเรียนด้วยรหัสคิวอาร์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติการ งานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ ครั้งที่ 14 (น.84-87), ลพบุรี: คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ถกล นิรันดร์วิโรจน์. (2526). ประโยชน์ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการทบวงมหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานอุดมศึกษา.