การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง สกลนคร เมือง 3 ธรรม สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง สกลนคร เมือง 3 ธรรม สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน 2) ประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้หนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ ที่มีประสบการณ์ในการสอนนักศึกษาผู้บกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 3 ท่าน และนักศึกษาผู้บกพร่องทางการได้ยินมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 20 คน คัดเลือกโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง สกลนคร เมือง 3 ธรรม สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน แบบประเมินคุณภาพ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง สกลนคร เมือง 3 ธรรม สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยินที่พัฒนาขึ้น พบว่า มีองค์ประกอบ 4 ส่วน ได้แก่ (1) ข้อความ (2) ภาพ (3) ภาพเคลื่อนไหว และ(4) วิดีโอภาษามือ มีเนื้อหา 3 ส่วน คือ ดินแดนธรรมะ ดินแดนวัฒนธรรม และดินแดนธรรมชาติ ประกอบด้วย ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และวิดีโอภาษามือ 2) ผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.66) และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจโดยผู้ใช้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( 4.58)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
นุชรา แสวงสุข, อนุชิต จันทรโรทัย, วัฒนชัย ชูมาก, และชมพรรณ รักษ์ศรีทอง. (2565). การจัดการท่องเที่ยวสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวคนพิการทางการเคลื่อนไหว. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรี รับใช้สังคม, 8(1) 50-68.
คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดสกลนคร. 2563. แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด พ.ศ. 2561 - 2565 (ฉบับทบทวน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สกลนคร: คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดสกลนคร.
ธีรศานต์ ไหลหลั่ง, เบญจพร ศักดิ์ศิริ, และวรรชนก สุนทร. (2556). รูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับคนพิการทางการได้ยิน. วารสารวิทยาลัยราชสุดา, 9(12) 50-58.
ปรานม ดีรอด. (2563). ประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์รายวิชาการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรังสิต (รายงานการวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
วิลดา ศรีทองกุล. (2563). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อผสมวิชาภาษาอังกฤษเพื่อทักษะการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
วศิน ทองมี, นรวิชญ์ โต๊ะเจริญ และเพียงฤทัย หนูสวัสดิ์. (2562). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติกุยบุรี. ใน การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ครั้งที่ 4 และการประชุมระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
เหนือขวัญ บัวเผื่อน. (2564). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามเส้นทางรถม้าสำหรับนักท่องเที่ยวที่ใช้ภาษาจีน. วารสารจีนศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 14(1), 220-243. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CSJ/article/view/246890/167643
ศิริพร น้อยอำคา. (2561). รูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 37(2), 182-193.
สุพิชฌาย์ ป่าตุ้ม, พิมพ์ลภัส ปินตาศรี, และพิมพ์ชนก สุวรรณศรี. (2565). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มาตรฐาน EPUB3 เรื่อง วัฒนธรรมไทย. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติพิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 7 (111-118). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
พิสุทธา อารีราษฎร์. (2550). การพัฒนาซอฟแวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.