การพัฒนาระบบแจ้งเตือนในโรงพยาบาลโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

Main Article Content

จุฑามณี รุ้งแก้ว
วีระชัย อ่อนมณี
ปิยะ พรหมลา

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบแจ้งเตือนในโรงพยาบาลโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง 2) ประเมินประสิทธิภาพระบบแจ้งเตือนในโรงพยาบาลโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจระบบแจ้งเตือนในโรงพยาบาลโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน ผู้ใช้ทั่วไปจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินประสิทธิภาพระบบแจ้งเตือนในโรงพยาบาลโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง และแบบสอบถามความพึงพอใจระบบแจ้งเตือนในโรงพยาบาลโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


                   ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาระบบแจ้งเตือนในโรงพยาบาลโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ระบบมีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน ประกอบด้วยส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ส่วนของฮาร์ดแวร์ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ NodeMCU ควบคุมระบบแจ้งเตือนพยาบาล การพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้โปรแกรม Visual Studio Code เขียนโปรแกรม และ โปรแกรม Xampp จำลองเครื่องคอมพิวเตอร์เป็น web server และภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมคือ PHP และ JAVA Script กระบวนการทำงานของระบบ อุปกรณ์ NodeMCU จะรับค่ามาประมวลผลด้วยโปรแกรม สามารถส่งข้อมูลการแจ้งเตือนได้ 2 รูปแบบ 1) ส่งการแจ้งเตือนไปยังห้องพยาบาลที่ชุดควบคุม (สถานีบริการ) 2) ส่งผ่านอุปรกรณ์เครือข่ายไร้สายช่องทางอีเมลและแอปพลิเคชันไลน์ 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบแจ้งเตือนในโรงพยาบาลโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง พบว่า ในภาพรวมระบบมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ย 4.92 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของระบบแจ้งเตือนในโรงพยาบาลโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง พบว่า ในภาพรวมระบบมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย 4.41


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไพโรจน เครือกาญจนา, สันต์ หัตถีรัตน์, ปรีชา ศิริทองถาวร, สมชาย กาญจนสุต, ทิพา ชาคร, ณธิดา สุเมธโชติเมธา, และ

อุบล ยี่เฮ็ง. (2557). ระบบการดูแลรักษาผูปวยฉุกเฉิน (Emergency Care System) . สืบค้น 4 พฤศจิกายน 2565, จาก http://training.dms.moph.go.th/rtdc/storage/app/uploads/public/59b/9e7/9c3/59b9e79c3482c145822366.pdf

Tech Talk 2 Apply. (2021). NodeMCU V2 ESP8266, สืบค้น 2 พฤศจิกายน 2565. จาก https://techtalk2apply.com/what-is-esp8266/

บุลวัชร์ เจริญยืนนาน. (2564). รีเลย์ (Relay) คืออะไร. สืบค้น 2 พฤศจิกายน 2565, จากhttps://misumitechnical.com/technical/electrical/relay-working-principles/

Prezon. (2561). เครื่อง Master Station Control รุ่น JNS-12. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์.

อนรรฆนงค์ คุณมณี. (2557). Basic & workshops php + AJAX และ JQUERY. ไอดีซีฯ นนทบุรี.

Designil. (2561). สอนเว็บดีไซน์ HTML5 CSS3 WordPress Web Design. สืบค้น 2 พฤศจิกายน 2565.

จาก https://www.designil.com/category/design/web-design.

Mateo Crisco. (2560). โปรแกรมภาษา PHP. กรุงเทพฯ: สำนักงานสารนิเทศ.

Taninut Bm. (2561). API เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ 4-6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอมพันธ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องตน. (พิมพครั้งที่ 7). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ทรงพล นามคุณ และคณะ. (2565). การพัฒนาระบบแจ้งเตือนการออกจากเตียงผ่านเซ็นเซอร์ไร้สายระยะไกล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 49-58.

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2562). วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC). สืบค้น 2 พฤศจิกายน 2565, จาก https://dol.dip.go.th/th/category/2019-02-08-08-57-30/2019-03-15-11-06-29