การพัฒนาระบบสารสนเทศบัญชีการเงินกลุ่มสัจจะออมทรัพย์บ้านไสใหญ่ ด้วยวิธีการอไจล์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศบัญชีการเงินกลุ่มสัจจะออมทรัพย์บ้านไสใหญ่ด้วยวิธีการอไจล์ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศบัญชีการเงินกลุ่มสัจจะออมทรัพย์บ้านไสใหญ่ด้วยวิธีการอไจล์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจการใช้งานระบบสารสนเทศบัญชีการเงินกลุ่มสัจจะออมทรัพย์บ้านไสใหญ่ด้วยวิธีการอไจล์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ เลขานุการ ประธาน และสมาชิกที่ใช้ระบบ จำนวน 50 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ ระบบสารสนเทศบัญชีการเงินกลุ่มสัจจะออมทรัพย์บ้านไสใหญ่ แบบประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศ และแบบสอบถามความพึงพอใจการใช้งานระบบสารสนเทศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบสารสนเทศบัญชีการเงินกลุ่มสัจจะออมทรัพย์บ้านไสใหญ่ใช้กระบวนการพัฒนาระบบแบบอไจล์ (Agile System Development Methodology) และกระบวนการสกรัม (Scrum) พัฒนาด้วยภาษา PHP ร่วมกับ Bootstrap Framework ในการควบคุมการแสดงผล จัดเก็บข้อมูลบนฐานข้อมูล MariaDB ระบบที่พัฒนาสามารถรองรับการทำงานตามกลุ่มผู้ใช้ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ เลขานุการ ประธาน และสมาชิก 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศบัญชีการเงินกลุ่มสัจจะออมทรัพย์โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ระบบสามารถรองรับการทำงานของกลุ่มผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและผลประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.58) และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจการใช้งานระบบสารสนเทศบัญชีการเงินกลุ่มสัจจะออมทรัพย์พบว่า ระบบสารสนเทศรองรับการใช้งานของกลุ่มผู้ใช้ ระบบสามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการข้อมูลจัดการสมาชิก และยังช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดทำบัญชี ทำให้เกิดความถูกต้อง ชัดเจน น่าเชื่อถือของข้อมูลในเรื่องบัญชีและการเงิน โดยความพึงพอใจการใช้งานของกลุ่มผู้ใช้โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.72)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
วิสุตร์ เพชรรัตน์, เตชิตา สุทธิรักษ์, กุลวดี จันทร์วิเชียร, อรรณพ ขำขาว, และพัทธนันท์ อธิตัง. (2564). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานฝึกประสบการณ์ วิชาชีพ สาขาวิชาการจัดการคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(39), 109–123.
Stair, R.M. (2012). Fundamentals of information systems: instructor’s edition. Boston: Course Technology/Cengage Learning.
ปิยดา พฤกสวัสดิ์นนท์, วรรนา มั่นศรีจันทร์, วิกานดา ฉิมจินดา, มะลิวรรณ พฤกษชัยกุล, และวาสุกาญจน์ งามโฉม. (2566).
การพัฒนาระบบการบัญชีสำหรับสถาบันการเงินชุมชน ตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ด้วยโปรแกรม Microsoft Excel. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แห่งรัตนโกสินทร์, 5(1), 65-75.
จินตนา แก้ววิจิตร, เบญจา ทองพันธ์, และกมลชนก มรรคเจริญ. (2566). แนวทางการพัฒนาการบริหารกองทุนออมทรัพย์สวัสดิการชุมชน ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 15(2), 118–127.
กรมพัฒนาชุมชน. (2565). BigData กรมพัฒนาชุมชน 2564. กรมพัฒนาชุมชน. สืบค้น 1 มิถุนายน 2565,
จาก http://cddata.cdd.go.th/apps/bigdata/
ยงยุทธ พันตารักษ์. (2566). คู่มือการใช้บัญชีอิเลคทรอนิกส์กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกำแพงเพชร. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2566, จาก https://singburi.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/65/2017/11/คู่มือบัญชีออมทรัพย์-2558.doc
ฤติมา มุ่งหมาย & วรนุช กุอุทา. (2564). การพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการบริหารจัดการและสนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารจากเนื้อสัตว์จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(1), 43-56.
Wiboonrat, M. (2018). Agile Project Management for Data Centers. International Journal of Science and Innovative Technology, 1(1), 16-26.
Tilley, S. R. (2020). Systems analysis and design (12th edition). Centage.
Phutornpukdee, M. (2020). Analysis and Design of Information System and Report Designs for Information Management of Saving Group. TEST Engineering & Management, 83, 23658–23667.
ธนภัทร กันทาวงศ์, กัสมา กาซ้อน, วัฒนา ยืนยง, ปานฉัตร อาการักษ์, และนิรุตติ์ ชัยโชค. (2566). การพัฒนาระบบการทำบัญชีกองทุนออมทรัพย์หมู่บ้านเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำบัญชีชุมชนในจังหวัดเชียงราย. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 588–610.
รัตน์ชฎาพร ศรีสุระ, สุพัตรา วะยะลุน, รัตนภรณ์ แซ่ลี้, และวนษา สินจังหรีด. (2565). การพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเสริมศักยภาพวิสาหกิจชุมชนบ้านท่าก่อ จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้แนวคิดแบบอไจล์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 7(2), 66-79.
สุพัตรา วะยะลุน, พงศกร พงษปรีชา, ศุภชัย งาหอม, และ ศุภกิตติ์ หนองใหญ. (2565). การพัฒนาระบบสารสนเทศพิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปไม้โบราณ พระพรหมวชิรญาณ วัดอาม็อง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. วารสารศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล, 1(1), 16-30.