การพัฒนาแอปพลิเคชันข้อมูลผู้ป่วยโรคหอบหืด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันข้อมูลผู้ป่วยโรคหอบหืด 2) ประเมินคุณภาพแอปพลิเคข้อมูลผู้ป่วยโรคหอบหืด 3) ศึกษาความพึงพอใจผู้ใช้งานที่มีต่อแอปพลิเคชันข้อมูลผู้ป่วยโรคหอบหืด โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นปีที่ 3 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) แอปพลิเคชันข้อมูลผู้ป่วยโรคหอบหืด 2) แบบประเมินคุณภาพแอปพลิเคชันข้อมูลผู้ป่วยโรคหอบหืด 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานแอปพลิเคชันข้อมูลผู้ป่วยโรคหอบหืด สถิติที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาแอปพลิเคชันข้อมูลผู้ป่วยโรคหอบหืด ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่
1) ผู้ใช้งานดูแลระบบ 2) ผู้ใช้งานผู้ป่วย และ 3) ผู้ใช้งานแพทย์ สามารถนำไปใช้งานได้จริงอย่างมีคุณภาพ
2) ผลการประเมินคุณภาพแอปพลิเคชันข้อมูลผู้ป่วยโรคหอบหืด พบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.93 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.16 อยู่ในระดับคุณภาพมาก 3) ผลการหาความพึงพอใจการใช้งานแอปพลิเคชันข้อมูลผู้ป่วยโรคหอบหืด พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.60 อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
พัชรี วัฒนชัย พัชราภรณ์ อารีย์ และ สุธิศา ล่ามช้าง .(2559). ความรุนแรงของโรคหืด พฤติกรรมการจัดการของครอบครัว และการควบคุมอาการของโรคหืด ในเด็กของผู้ดูแลในครอบครัว. พยาบาลสาร, 43(1), 1-12. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/74075/59802
เสริมศรี สันตติ. (2548). รูปแบบจําาลองการวิเคราะห์เชิงสาเหตุของความสามารถในการดูแลโรคหืดการทดสอบเชิงประจักษ์ในผู้ปกครองผู้ดูแลเด็กก่อนวัยเรียนโรคหืด. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.
เสริมศรี สันตติ, เอมพร รตินธร, และ เบคกี้ คริสเตียน. (2546). ประสบการณ์ของผู้ปกครองเด็กป่วยโรคหอบหืดใน การป้องกันอาการหอบ: การดิ้นรนหาทางควบคุม. วารสารทางการพยาบาล, 7(3), 186-197.
จันทร์จิรา เจียรณัย. (2558). กระบวนการพยาบาล. นครราชสีมา: สำนักวิชาการพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
สมาคมสภาองค์กรโรคหอบหืดแห่งประเทศไทย. (2560). แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหอบหืดในประเทศไทยสำหรับผู้ใหญ่ พ.ศ. 2560. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพร์ซ.
ชลิตา พนาวิวัฒน์. (2556). การออกแบบระบบนัดสำหรับแผนกผู้ป่วยนอก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. สืบค้นจาก https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43223
อภิศักดิ์ อาจนันท์. (2557). Mobile Application. สืบค้น 7 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://thaieasy-it.blogspot.com/
สุฬดี กิตติวรเวช, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, และเพชรมณี วิริยะสืบพงศ์. (2555). การพัฒนาระบบการจองคิวตรวจล่วงหน้างานผู้ป่วยนอก ศูนย์สุขภาพสังกัดวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 14(1), 1-9
วณิชา แผลงรักษา. (2556). ระบบจองนัดแพทย์นอกเวลาออนไลน์กรณีศึกษาโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, นครราชสีมา.
ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ. (2563). การจัดการโรคหืดผ่านสมาร์ทโฟน แอปพลิเคชันต่อความรู้ การใช้ยาสูด และการควบคุมอาการในผู้ป่วยโรคหืด สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2564, จาก https://ns.mahidol.ac.th/english/journal_NS/pdf/vol39/issue2/Thamonwan.pdf
บุญชม ศรีสะอาด, (2545). วิธีการสร้างสถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.