การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์กลุ่มกสิกรรมธรรมชาติเชื่อมโยงการตลาดสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

สำราญ วานนท์
รจนา เมืองแสน

บทคัดย่อ

                   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารวบรวมข้อมูลเกษตรกรที่ยึดหลักกสิกรรมธรรมชาติของจังหวัดชัยภูมิ 2) พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์กลุ่มกสิกรรมธรรมชาติเชื่อมโยงการตลาดสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย จังหวัดชัยภูมิ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจการใช้ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์กลุ่มกสิกรเชื่อมโยงรมกับตลาดสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน ประกอบด้วยเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย 15 คน และผู้ที่มาใช้บริการตลาดสีเขียวจังหวัดชัยภูมิ 15 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์กลุ่มกสิกรรมธรรมชาติเชื่อมโยงการตลาดสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย จังหวัดชัยภูมิ และ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสารสนเทศ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


                 ผลการวิจัยพบว่า 1) ศึกษารวบรวมข้อมูลเกษตรกรที่ยึดหลักกสิกรรมธรรมชาติของจังหวัดชัยภูมิ พบว่า จากการรวบรวมข้อมูลเกษตรกรจำนวน 32 ราย ผลิตภัณฑ์ 148 รายการ แล้วนำมาออกแบบโครงสร้างระบบสารสนเทศ 2) ผลการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศกำหนดผู้ใช้ระบบ 3 ส่วนคือส่วนของผู้ใช้งานทั่วไป ส่วนของเกษตรกร และส่วนของผู้ดูแลระบบ ระบบมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.42, SD. = 0.52) และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.41, SD. = 0.26)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2564). คนรุ่นใหม่ศรีสะเกษแห่ทำ “โคก หนอง นา โมเดล” ลั่น! ไม่ใช่ทางเลือกแต่เป็นทางรอดของ

สังคมไทย. สืบค้น 10 มิถุนยายน 2566, จาก https://nbtworld.prd.go.th/th/news/detail/TCATG210729201417030.

สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร. (มปป). DOA Open Data. สืบค้น 10 มิถุนยายน 2566, จาก https://info.doa.go.th/opendata/stats.php

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชัยภูมิ. (2562). แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชัยภูมิ. สืบค้น 10 มิถุนยายน 2566, จาก https://www.opsmoac.go.th/chaiyaphum-strategic-files-421891791803.

ปารวี ภัทรกวิน และเกริก ภิรมย์โสภา. (2017). การประยุกต์ใช้กูเกิลแมปของโรคพิษสุนัขบ้าในมนุษย์และสัตว์. The Thirteenth

National Conference on Computing and Information Technology. ครั้งที่ 13, กรุงเทพมหานคร. 667-673.

อุเทน กองทิพย์. (2555). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับการศึกษาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

แก้ววิเศษ ธรรมวงสา. (2553). การจัดการการเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติแบบเกษตรกรสู่เกษตรกรของศูนย์เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติ สองสลึง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (มปป). เข้าใจใหม่ เกษตรอินทรีย์ & GAP. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2566,

จาก https://warning.acfs.go.th/th/articles-and-research/view/?page=73.

นันธิดา แดงขาว, ฉวีวรรณ สุขศร, และอรรถสิทธิ์ โอพั่ง. (2561). อาหารปลอดภัยในอุตสาหกรรมบริการ. วารสารรวิทยาลัยดุสิตธานี. 12(2), 417 – 433.

Davis, F. D. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of Information Technology.

MIS Quarterly, 13(3), 319-340. doi: 10.2307/249008

กฤษนัยน์ เจริญจิตร, กาญจนา หริ่มเพ็ง, สัมปตี สงวนพวก, และปรีชา บุญขาว. (2561). การพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศเพื่อติดตามพื้นที่นาข้าวเกษตรอินทรีย์ ภายใต้แนวคิดนิเวศบริการ โดยประยุกต์ข้อมูลดาวเทียมและหุ่นยนต์อากาศยานขนาดเล็ก (รายงานวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรีรักษ์ วงษ์ทิพย์. (2561). เครือข่ายสังคมออนไลน์ : กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์ เพื่อดึงดูดผู้บริโภคในยุคดิจิทัล. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร. (15)1, 21 – 36.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องตน (พิมพครั้งที่ 7). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาสน.

กิตติยา ปัญญาเยาว์ และคณะ. (2563). ระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษาชุมชนบ้านสร้าง อำเภอบางปะอิน

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รายงานวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา.

เสาวคนธ์ หนูขาว. (2566). การพัฒนาระบบสารสนเทศทางการตลาดเพื่อพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ของเกษตรกรและผู้ประกอบการในพื้นที่ตำบลเขาคันทรง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เพื่อยกระดับสู่การเป็นผู้ประกอบการออนไลน์. วารสารบริหารธุรกิจ. (13)1, 61 – 76.

ชัยวิชิต ไพรินทราภา. (2565). การพัฒนาระบบสนับสนุนทางการตลาดเพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า กรณีศึกษา กลุ่มผ้าทอ

มือปกาเกอะญอ บ้านป่าตึงงาม ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่. วารสารรลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. 6(1), 48 – 67.

ชูศักดิ์ ยาทองไชย และวิไลรัตน์ ยาทองไชย. (2564). การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ้าทอพื้นบ้านสินค้าระดับพรีเมี่ยม

กลุ่มชาติพันธุ์เขมร. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 8(1), 7 – 19.