การพัฒนาระบบบริหารจัดการคลินิกทันตกรรมและการแจ้งเตือนนัดหมายอัตโนมัติ

Main Article Content

พัชรี ศรีพุทธา
อภิชาติ เหล็กดี
อตินันต์ แท่นทอง

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการจัดการคลินิกทันตกรรมและการแจ้งเตือนนัดหมายอัตโนมัติด้วยโมบายแอปพลิเคชันและ Line API 2) ประเมินคุณภาพระบบการจัดการคลินิกทันตกรรมและการแจ้งเตือนนัดหมายอัตโนมัติ 3)ศึกษาความพึงพอใจต่อระบบการจัดการคลินิกทันตกรรมและการแจ้งเตือนนัดหมายคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายโดยใช้วิธีแบบเจาะจงได้แก่ (1) ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานระบบคลินิกทันตกรรม รวมจำนวน 5 คน (2) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาความพึงพอใจในการใช้งานระบบจัดการคลินิกทันตกรรม รวมจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ระบบบริหารจัดการคลินิกทันตกรรมและการแจ้งเตือนนัดหมายอัตโนมัติแบบประเมินประสิทธิภาพของระบบ และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบการจัดการคลินิกทันตกรรมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ


        ผลการวิจัย พบว่า 1) ระบบบริหารจัดการคลินิกทันตกรรมและการแจ้งเตือนนัดหมายอัตโนมัติ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ (1) ส่วนของพนักงาน และ (2) ส่วนของทันตแพทย์ สามารถจัดการข้อมูลส่วนตัวทันตแพทย์ ค้นหาข้อมูลผู้ป่วยและตรวจสอบเรียกดูรายงานข้อมูลผู้ป่วยบันทึกข้อมูลการรักษาของผู้ป่วยเรียกดูรายงานข้อมูลการรักษาผู้ป่วย และเพิ่มข้อมูลการนัดหมายผู้ป่วย 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่าโดยรวม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\fn_cm&space;\small&space;\bar{x} = 4.15, SD. =0.37) และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจผู้ใช้ระบบมีผลการประเมินโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x} = 4.59, SD. = 0.09) คิดเป็นร้อยละ 86.15

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kurniawati, M. A. (2022). Analysis of the impact of information communication technology on economic growth: empirical evidence from Asian countries. Journal of Asian Business and Economic Studies, 29(1), 2-18.

ชายแดน มิ่งเมือง และอดิศร นามเกตุ (2565). แอปพลิเคชันการแจ้งเตือนวัดหมดอายุอาหารและเครื่องสำอาง. วารสารวิชการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. 9(2), 108-116.

อิทธิชัย อินลุเพท. (2565). การพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย. วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. 8(1), 128 – 140.

เดนทัล คอร์ปอเรชั่น. (2560). รายงานประจำปี 2560 บริษัท เดนทัล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน). สืบค้น 20 ตุลาคม 2566, จาก https://dentalcorpthailand.com/ir/wp-content/uploads/2017/05/Dental-Corporation-Annual-Report-2017-for-Web.pdf

พรรพฤษา จันทะแจ่ม และ วีนารัตน์ แสวงกิจ. (2566). การพัฒนาแอปพลิเคชันจัดการการนัดหมายการเข้ารับบริการออนไลน์กรณีศึกษา คลินิกทันตกรรม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 1(4), 31-43.

ปายือรี นาแว, ศรุต แมเร๊าะ และดินาถ หลำสุบ. (2564). ระบบจัดการข้อมูลการเข้ารับบริการคลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลเทพา. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา, 2(1), 11 – 21.

J. Kim, H. Kim, and H. Kim. (2023). A Review of Software Development Life Cycle Models. Journal of Software Engineering Research and Development, 10(1), 1-15.

แอปมาสเตอร์. (2566). ระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (RDMS) คืออะไร. สืบค้น 25 ตุลาคม 2566, จาก https://appmaster.io/th/blog/rabbkaarcchadkaarthaankh-muulechingsamphanth-rdbms

Microsoft. (2023). Visual Studio Code documentation. สืบค้น 25 ตุลาคม 2566, จาก https://code.visualstudio.com/docs

จีราวุธ วารินทร์. (2562). พัฒนาเว็บแอพพลิเคชันด้วย ANGULAR + BOOTSTRAP. กรุงเพทฯ: ศูนย์หนังสือจุฬา มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.

LINE Developers. (2023). LINE API documentation. สืบค้น 25 ตุลาคม 2566, จาก https://developers.line.me/en/docs/: https://developers.line.me/en/docs/

Cao, W., Wan, Y., Tu, H., Shang, F., Liu, D., Tan, Z., ... & Xu, Y. (2011). A web-based appointment system to reduce waiting for outpatients: a retrospective study. BMC health services research, 11(1), 1-5.

Alazzam, M. B., Alassery, F., & Almulihi, A. (2021). Development of a mobile application for interaction between patients and doctors in rural populations. Mobile information systems, 2021, 1-8. https://doi.org/10.1155/2021/5006151

ชินกร สายทอง และ ศุภณัฐ เกษกุล. (2562). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการคลินิก กรณีศึกษา คลินิกสรรวิชญ์การพยาบาลและการผดุงครรภ์ จังหวัดบุรีรัมย์ (โครงงานวิทยาศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

Beizer, B. (1990). Black-box testing: Techniques for functional testing of software and systems. New York: International Thomson Computer Press.

Myers, G. J. (2004). The art of software testing (2nd ed.) New York: Wiley.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Codd, E.F. (1970). A Relational Model of Data for Large Shared Data Banks. Communications of the ACM, 13, 377-387. https://doi.org/10.1145/362384.362685.