การพัฒนาแอปพลิเคชันคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์

Main Article Content

กิตติ โพธิสมภาพวงษ์
สมโภชน์ สายบุญเรือน
สวิชญา ศรีไพร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2) ทดสอบประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อแอปพลิเคชันคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ บุคลากรของโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 อำเภอเมืองลพบุรี จำนวน 30 โรงเรียน และคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 อำเภอเมืองลพบุรี จำนวน 15 โรงเรียน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แอปพลิเคชันคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อแอปพลิเคชันคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยสถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  (gif.latex?\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.)


         ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาแอปพลิเคชันคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ มีองค์ประกอบ 2 ส่วน ได้แก่ การคัดกรองบุคคลที่มีสมาธิสั้นและการคัดกรองบุคคลที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้สามารถประเมินผลได้แบบเรียลไทม์ 2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์โดยผู้เชี่ยวชาญ ดำเนินการประเมินความสอดคล้องของแอปพลิเคชันจำนวน 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านประสิทธิภาพของการใช้งาน ด้านประสิทธิผล และด้านการเรียนรู้ พบว่าแอปพลิเคชันมีความเหมาะสมในทุกรายการประเมินของทุกด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.64, SD.= 0.16) สามารถสรุปได้ว่าแอปพลิเคชันที่คณะผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นนั้นมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญและสามารถนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างได้ และ 3) ความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อแอปพลิเคชันคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการใช้งานแอปพลิเคชันคัดกรองโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.78, SD. = 0.22)

Article Details

How to Cite
โพธิสมภาพวงษ์ ก., สายบุญเรือน ส. ., & ศรีไพร ส. . (2024). การพัฒนาแอปพลิเคชันคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 11(1), 120–131. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/252340
บท
บทความวิจัย

References

C. Aramnet. (2018, May 23). Empowering Thai Youth: Building Classrooms for 37% of 300,000 ADHD Students [Online]. Available: https://www.komchadluek.net/scoop/327072 (in Thai)

Office of the Royal Society, Contemporary Education Science Glossary. Jia Hua, 2015. (in Thai)

S. Phalachaipiromsin, “Trends in the Utilization of Mobile Applications,” Executive Journal, vol. 31, no. 4, pp. 1 10-111, 2011. (in Thai)

P. Pannim, The development of Learning Application via Android Operating System for Thai Consonants and Vowels for Children with Learning Disabilities, EAU HERITAGE Science and Technology, 2016. (in Thai)

D. Uthairattanakit, C. Phonphadon et al, Screening for students with attention deficit, learning disabilities, and autism spectrum disorders, National Research Council of Thailand, 2006. (in Thai)

W. Kaewroung, T. Watthanakuljaroen, V. Topothai and S. Sopeerak, “Development of an Application on Android Operating System in the Topic of BasicData Communications and Computer Network for Vocational Diploma Students in Suphan Buri Vocational College,” STOU Educational Journal, vol. 13, no. 2, pp. 273-275, 2018. (in Thai)

N. Phonsiri and S. Siriwannachot, “Health Application,” Bachelor of Science Degree, Faculty of Engineering, King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang, 2020. (in Thai)

N. Jongthanomwiwat, T. Kaewchan and P. Ethisan, “Application Development on Android Smartphones to Assess Activities of Daily Living in Aging: ADLA for Public Health Personnel Tambon Health Promoting Hospital Sainoi District Nonthaburi Province,” Journal of Health Science, vol. 31, no. 5, pp. 851-859, 2022. (in Thai)

L. Saiyotand and A. Saiyot, Techniques for Assessing Learning Outcomes, Bangkok: Suwiriyasan, 1996. (in Thai)

B. Srisa-at, Research for Teachers, Bangkok: Suwiriyasan, 2003. (in Thai)