การวิเคราะห์และจัดกลุ่มความสัมพันธ์ข้อมูลผู้สอนรายวิชาการรู้ดิจิทัลด้วยเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล แบบ Unsupervised Learning บทความวิจัย

Main Article Content

นพรัตน์ โพธิ์สิงห์
เอกธนัช เหลืองศิริวรรณ
วีระชัย บุญปก
ทวีวัฒน์ มูลจัด

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพเว็บแอปพลิเคชันสำรวจข้อมูลผู้สอนเพื่อการวิเคราะห์และจัดกลุ่มความสัมพันธ์ข้อมูลผู้สอนรายวิชาการรู้ดิจิทัลด้วยเทคนิคแบบเคมีน และ 2) เพื่อวิเคราะห์และจัดกลุ่มความสัมพันธ์ข้อมูลผู้สอนรายวิชาการรู้ดิจิทัลด้วยเทคนิคแบบเคมีน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สอนสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทางคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำนวน 5 สาขาวิชา ได้แก่ 1) สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ 3) สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 4) สาขาวิชานวัตกรรมคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ และ 5) สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา และผู้สอนที่มีประสบการณ์การสอนวิชาการรู้ดิจิทัล จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความถนัดด้านเนื้อหาการสอนผ่านเว็บแอปพลิเคชัน 2) แบบสอบถามสัมพันธภาพด้านการสอนผ่านเว็บแอปพลิเคชัน และ 3) แบบประเมินประสิทธิภาพด้านการใช้งานเว็บแอปพลิเคชันจากผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพเว็บแอปพลิเคชันสำรวจข้อมูลผู้สอนเพื่อการวิเคราะห์และจัดกลุ่มความสัมพันธ์ข้อมูลผู้สอนรายวิชาการรู้ดิจิทัลด้วยเทคนิคแบบเคมีน พบว่า เว็บแอปพลิเคชัน มีองค์ประกอบ 2 ส่วน ได้แก่ (1) จัดการข้อมูลระบบ และ (2) แบบสอบถาม และในภาพรวมมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.42, SD.=0.56) และ 2) ผลการวิเคราะห์การจัดกลุ่มผู้สอนด้วยเทคนิคแบบเคมีน ร่วมกับการสร้างกฎความสัมพันธ์ด้วยวิธีอัลกอริทึมอพริโอริ พบว่า ผลการจัดกลุ่มผู้สอนในภาพรวมที่เหมาะสมได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) จุดศูนย์กลางของกลุ่ม เท่ากับ 3.00 (2) จุดศูนย์กลางของกลุ่ม เท่ากับ 4.10 (3) จุดศูนย์กลางของกลุ่ม เท่ากับ 4.41 และ (4) จุดศูนย์กลางของกลุ่ม เท่ากับ 4.91 ด้วยกฎความสัมพันธ์ 21 กฎ

Article Details

How to Cite
โพธิ์สิงห์ น. . ., เหลืองศิริวรรณ เ. . ., บุญปก ว. ., & มูลจัด ท. . . (2024). การวิเคราะห์และจัดกลุ่มความสัมพันธ์ข้อมูลผู้สอนรายวิชาการรู้ดิจิทัลด้วยเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล แบบ Unsupervised Learning: บทความวิจัย. วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 11(1), 144–158. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/252989
บท
บทความวิจัย
Author Biography

นพรัตน์ โพธิ์สิงห์

master of science in computer science

References

Office of the Higher Education Commission, Announcement of the Higher Education Commission on Guidelines for Compliance with the National Higher Education Qualifications Framework About digital competencies for undergraduate qualifications, Office of the Higher Education Commission, Bangkok, 2018. (in Thai)

J. Thankittikoon. (2023, February 11). What is K-Means Clustering. [Online]. Available: https://medium.com/@Jutharath.Thankittikoon/what-is-k-means-clustering-ee36ab6f7638 (in Thai)

Surindra Rajabhat University, General Education Curriculum revised edition 2018, Office of Academic Promotion and Registration, Surindra Rajabhat University, Surin, 2018. (in Thai)

Advanced Iservice. (2023, February 10). Solve your doubts: What is a web application. [Online]. Available:https://www.advancedis.co.th/th/blog/ไขข้อข้องใจ-web-application-คืออะไร-มีประโยชน์อย่างไรบ้าง (in Thai)

Blogger. (2023, February 11). Data mining techniques. [Online]. Available: http://datamining-techniques.blogspot.com/2012/09/k-means-k-means-clustering.html (in Thai)

K. Kesorn. (2023, February 11). Association Rule. [Online]. Available:

https://csit.nu.ac.th/kraisak/ds/ds/chapter09/Chapter09.pdf (in Thai)

D. Dietrich, B. Heller and B. Yang, Data Science & Big Data Analytics: Discovering, Analyzing, Visualizing and Presenting Data, Indiana: John Wiley & Sons, 2015.

P. Pengsiri, “Analysis of Relationship of Academic Personnel Data for Management Teaching with Method Adjustment of K-Means Combined with Association Rules,” RMUTI JOURNAL Science and Technology, vol. 13, no. 3, pp. 106-119, 2020. (in Thai)

P. Peerapan and P. Pasunon, “Cluster Analysis of Knowledge Management Behavior of Academic Staff in a Rajabhat University,” Journal of Management and Development Ubon Ratchathani Rajabhat University, vol. 7, no. 2, pp. 75-86, 2020. (in Thai)

P. Paruechanon and W. Sriurai, “Applying association rule to risk analysis for student-dropout in Information

Technology Program,” Journal of Science and Science Education, vol. 1, no. 2, pp. 123-133, 2018. (in Thai)

B. Mahatthanachai, K. Malaivongs, S. Somhom and N. Tantranont, “Association Rule of Subjects Affecting Student Dropout Using Apriori Algorithm,” in Proceedings of the Third Kamphaeng Phet Rajabhat University National Conference, Kamphaeng Phet, Thailand, December 22, 2016, pp. 456-469. (in Thai)

C. Wongratana, Techniques for using statistics for research, 13th ed. Bangk