การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสารสนเทศตามพระราชบัญญัติการคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ

Main Article Content

จักรกริช คำสม
ธรัช อารีราษฏร์
อภิชาติ เหล็กดี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการสารสนเทศตามพระราชบัญญัติการคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการสารสนเทศตามพระราชบัญญัติการคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3) พัฒนาคู่มือการบริหารจัดการสารสนเทศตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการสารสนเทศตามพระราชบัญญัติการคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการสารสนเทศตามพระราชบัญญัติการคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3) แบบประเมินความเหมาะสมของกระบวนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และ 4) แบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือการบริหารจัดการสารสนเทศตามพระราชบัญญัติการคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการสารสนเทศตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีองค์ประกอบ 7 ส่วน ประกอบด้วย (1) ด้านนโยบาย (2) ด้านบริบทความต้องการ (3) ด้านหลักการและทฤษฎี (4) ด้านการบริหารจัดการสารสนเทศตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ (5) ด้านเทคโนโลยี (6) ด้านบุคลากร และ (7) ด้านตัวชี้วัดความสำเร็จ  2) ความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการสารสนเทศตามพระราชบัญญัติการคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} =4.77, SD.=0.45) และ 3) คู่มือการบริหารจัดการสารสนเทศตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีจำนวน 2 เล่ม ได้แก่ คู่มือระดับมหาวิทยาลัย และคู่มือระดับหน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยที่ 1 รูปแบบการดำเนินงาน หน่วยที่ 2 การวางแผนการดำเนินงาน หน่วยที่ 3 การลงมือปฏิบัติตามแผนการดำเนินงาน หน่วยที่ 4 การตรวจสอบผลการดำเนินงานตามกรอบ หน่วยที่ 5 การสะท้อนผลและปรับปรุงการดำเนินงานตามกรอบ ความเหมาะสมของคู่มือการบริหารจัดการสารสนเทศตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}=4.63, SD.=0.48)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Royal Gazette Volume 136 (Part 69 A). Personal Data Protection Act, 2019. (in Thai)

K. Thitsadikhun. (2023, February 15). Surveying the readiness of the government sector to comply with 'PDPA'. [Online]. Available: https://tdri.or.th/2022/07/pdpa-the-government-duties/. 2022. (in Thai)

K. Silalai, “Innovative leadership of school administrators in the Triam Udom Suksa Pattanakarn School group,” Journal of MCU Ubon Review, vol. 8, no. 1, pp. 355-366, 2022. (in Thai)

Endatoth Company Limited. (2023, February 15). Personal Data Protection Act 2019. Available: https://cookiewow.com/th/privacy (in Thai)

R. Jeansuti, “The Information System Management Model for Educational Profession Services of the Teachers’Council of Thailand Consistent with Thailand 4.0,” Veridian E-Journal,Silpakorn University, vol.11, no.3, pp. 572-588, 2018. (in Thai)

Saengrawee Wipulakhom and Sarawut Pitiyasak. Personal data protection law problems Biodata type. Journal: Sukhothai Thammathirat Open University, vol 34, no 2, pp. 36-59, 2021. [Online]. Available: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/153571/111846 (in Thai)

K. Wongsawat and W. Ratchatranon, “Knowledge and understanding of the Protection Act Personal information 2019 of Provincial Electricity Authority employees Head office,”Kasetsart University Political Science Review Journal (KUPSRJ), vol. 7, no. 2, pp. 53-67, 2020. (in Thai)

J. W. Best, Research in Education, 3nd. ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hell, 1997.

A. Pomsathit, “Guidelines for managing information systems for the protection of personal information of government agencies,” Journal of science and technology, vol 4, no 1, pp.135-148, 2021. (in Thai)

P. Diod. “Appropriate format for sharing personal data for public administration within the framework of the Personal Data Protection Act,” Journal of MCU Nakhondhat, vol 9, no 10, pp.124-137, 2022 (in Thai)