การพัฒนาระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง ในโรงเรือนเพาะเลี้ยงกบนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่งในโรงเรือนเพาะเลี้ยงกบนา 2) ทดลองใช้ระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตในโรงเรือนเพาะเลี้ยงกบนา และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของเกษตรที่มีต่อระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งในโรงเรือนเพาะเลี้ยงกบนา กลุ่มเป้าหมายคือ เกษตรกร บ้านคำปลาฝา ตำบลขมิ้น อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) ระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งในโรงเรือนเพาะเลี้ยงกบนา 2) แบบบันทึกการทดสอบประสิทธิภาพของระบบ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ การทดสอบประสิทธิภาพของระบบด้วยการตรวจวัด ค่าพารามิเตอร์ ดังต่อนี้ 1) ค่าอุณหภูมิ และ 2) ค่าความชื้นสัมพัทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่งในโรงเรือนเพาะเลี้ยงกบนา พบว่า มีองค์ประกอบ 4 ส่วน ได้แก่ (1) ระบบตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้น (2) ระบบป้อนข้อมูล (3) ระบบจัดเก็บข้อมูล และ (4) ระบบประมวล พบว่า การทำงานของระบบที่แสดงข้อมูลผ่านจอแสดงค่าต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ผลการการทดสอบระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมในโรงเรือนจำลอง พบว่า ระบบสามารถวัดค่าอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 0 – 100 ˚C และความชื้นสัมพัทธ์ได้ตั้งแต่ 20%RH – 80%RH โดยมีค่าความเหมาะสมภายในโรงเรือนเพาะเลี้ยงกบนา ที่วัดได้คือ อุณหภูมิอยู่ที่ 30 ˚C และ ความชื่นอยู่ที่ 60%RH ตามลำดับ ระบบยังสามารถแสดงสถานะค่าอุณหภูมิและความชื้นของโรงเรือนเพาะเลี้ยงกบนาได้ตลอดเวลา แสดงข้อมูลผ่านจอ ซึ่งช่วยให้เกษตรกรรับรู้ข้อมูลได้ตลอดและสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์การวางแผนในการเพาะพันธุ์กบนาได้ตลอดทั้งปี แม้ในช่วงฤดูหนาว ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างระบบดั้งเดิมกับระบบใหม่ พบว่า ระบบใหม่มีประสิทธิภาพมากกว่าในด้านการเปลี่ยนถ่ายน้ำอัตโนมัติ ใช้แรงงานคน และใช้ระยะเวลาในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ น้อยกว่าระบบดั้งเดิม และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของเกษตรที่มีต่อระบบควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งในโรงเรือนเพาะเลี้ยงกบนา โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ดีมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ ( = 4.44, SD. = 0.45) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ระบบเป็นประโยชน์ในการต่อยอดอาชีพ อยู่ในระดับมาก ( = 4.55, SD. = 0.50)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
S. Theerawiru, "Smart Farm, environmentally friendly farming." Accessed: 2016. [Online]. Availabld : https://cdc.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=37410&filename=Thai_National_Assembly (in Thai)
J. Manwicha, "Smart Farm Technology," Hatyai Academic Journal, vol. 14, no. 2, pp. 201-210, 2016. (in Thai)
K. K. Patel, S. Patel, P. G. Scholar, and C. Salazar, " Internet of Things-IOT: Definition, Characteristics, Architecture, Enabling Technologies, Application & Future Challenges," International Journal of Electronics and Computer Science, vol. 6, no. 5, pp. 6122- 6131, 2016. DOI 10.4010/2016.1482
R. A. Mouha, "Internet of Things (IoT)," Journal of Data Analysis and Information Processing, vol. 9, pp. 77-101, 2021.
W. Fongngen, S. Petchhan, and R. Yajor, "Application of IoT technology to control smart farms in mushroom cultivation greenhouses," Journal of Information Technology Management and Innovation, vol. 5, no. 1, pp. 172-182, 2018. (in Thai)
P. Srinil, T. Puangsuwan, U. Buatoom and S. Kunjet, " Automatic Control System Application for Melon Growth in Greenhouse Using IoT and Fuzzy Control," Journal of Science Ladkrabang, pp. 74-89, 2020. (in Thai
K. Dongsongkram, S. Punpitak, P. Premto and T. Trisakul, "The Development of environment control system using Internet of Things technology in Green House Via Cockfighting," Journal of Applied Information Technology, vol. 8, no. 1, pp. 103-116, 2022. (in Thai)
W. Woraserm, L. Chantabut and S. Pimratch, "Effect of Temperature on Reproductive Performance of Crossbred Frogs in the Winter Season," Prawarun Agricultural Journal, vol. 16, no. 2, pp. 339-348, 2019. (in Thai)
B. Srisaad, Preliminary research, Bangkok: Suwiriyasarn, 2010. (in Thai)
N. Ya’acob, N. N. S. N. Dzulkefli, A. L. Yusof, M. Kassim, N. F. Naim, and S. S. M. Aris, "Water Quality Monitoring System for Fisheries using Internet of Things (IoT)," IOP Conference Series: Materials Science and Engineering, pp. 1-12, 2021. doi:10.1088/1757-899X/1176/1/012016