การพัฒนาเครื่องผสมดินปลูกพืชโดยการควบคุมด้วยระบบไอโอที

Main Article Content

ธรัช อารีราษฎร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเครื่องผสมดินปลูกพืชโดยการควบคุมด้วยระบบไอโอที และ
2) ศึกษาผลการทดลองใช้เครื่องผสมดินปลูกพืชโดยการควบคุมด้วยระบบไอโอที กลุ่มเป้าหมาย เป็นคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชน “การแปรรูปขยะจากปลา” ตำบลลำคลอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์  จำนวน 15 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการยอมรับเทคโนโลยี  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาเครื่องผสมโดยการควบคุมด้วยระบบไอโอที พบว่า 1.1) องค์ประกอบ


ของการควบคุมด้วยระบบไอโอที ประกอบไปด้วย 3 ส่วน  1.2) การออกแบบเทคโนโลยีอุปกรณ์ ประกอบด้วย Arduino 8255, Relay Module และ โมดูล 3G 1.3) เทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่ใช้ ได้แก่ Blynk ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบนคลาวด์สำหรับสมาร์ทโฟน iOS หรือ Android 1.4) การออกแบบเครื่องผสมโดยการควบคุมด้วยระบบไอโอที ได้นำแนวคิดจากการนำเอาเครื่องผสมปูนมาออกแบบ ดังนั้นการออกแบบจะวางเครื่องผสมไว้บนรถเข็นและชุดเพลาลงบนโครงสร้างหลัก สามารถหมุนและปั่นผสมได้อย่างต่อเนื่อง  โดยด้านล่างของคานจะติดตั้งมอเตอร์ และ 1.5) เครื่องผสมดินปลูกโดยการควบคุมด้วยระบบไอโอที มีคุณลักษณะที่ประกอบด้วย 1.5.1) ขนาดความจุถังวัสดุสำหรับการผสม จำนวนไม่ต่ำกว่า 5 กิโลกรัม 1.5.2) มอร์เตอร์สำหรับการปั่นแกนเพลา ไม่ต่ำกว่า 2 แรงม้า 1.5.3) ถังปั่นวางบนรถเข็นของที่สามารถเคลื่อนย้ายได้  และ 2) ผลการทดลองใช้ พบว่า 2.1) ผลการศึกษาประสิทธิภาพ พบว่า เครื่องผสมดินปลูกพืช สามารถใช้ความเร็วได้ 3 ระดับ สามารถลดเวลาในการผสมดินปลูกพืชไม่ต่ำกว่า 20 นาที เมื่อเทียบจากวิธีการดั้งเดิม และ 2.2) ผลการสอบถามการยอมรับเทคโนโลยี พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า อยู่ระหว่างระดับมากถึงมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 3.98 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.70)

Article Details

How to Cite
อารีราษฎร์ ธ. (2024). การพัฒนาเครื่องผสมดินปลูกพืชโดยการควบคุมด้วยระบบไอโอที. วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 11(2), 110–120. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/256608
บท
บทความวิจัย

References

S. Duangupma, "Innovation management process for fish product processing with community participation to create a model community economy, Kalasin province," Department of Business Administration, Faculty of Management Science, Kalasin University, 2019.

K. Petchjul and K. Kunwittit, "Biodiversity of aquatic resources and their impacts on local lifestyles and culture in the Lam Pao reservoir basin, Kalasin province," Prao Kalasin Academic Journal, vol. 4, no. 3, pp. 418-438, 2017.

T. Arreerard, W. Arreerard, N. Thongpan, and N. Ruangsan, "Internet of things system for lime planting in Maha Sarakham community," TELKOMNIKA (Telecommunication Computing Electronics and Control), vol. 22, no. 1, pp. 148-156, 2024.

T. Arreerard, W. Arreerard, N. Sawatsri, and N. Ruangsan, "Smart Farm: Solar Chili Greenhouse by IoT Control System in Kalasin," Psychology and Education Journal, vol. 58, no. 2, pp. 3696-3703, 2021.

T. Arreerard, W. Arreerard, and N. Ruangsan, "IoT System for Mushroom Cultivation in Greenhouse of Mahasarakham Communities," Journal of Green Engineering, vol. 11, no. 2, pp. 1680-1695, 2021.