อิทธิพลของอัตราส่วนผสมของโพลีเอทีลีนต่อพฤติกรรมการคืบและความเค้นดึง ของวัสดุเชิงประกอบ

Main Article Content

วุฒิชัย สิทธิวงษ์ ธนกร หอมจำปา สอนรินทร์ เรืองปรัชญากุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมการคืบและความเค้นดึงพลาสติกผสม พลาสติกที่ใช้เป็นชนิดโพลีเอทีลีน ความหนาแน่นสูง (HDPE) จากขวดนมและขวดน้ำยาสระผม ขวดนม 50% ผสมรำ 50% ขวดนม 60% ผสมแกลบ 40% และ ขวดนม 70% ผสมแกลบ 30% โดยมวล ผลการทดลองหาค่าความเค้นดึงที่เกิดขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุที่ทดสอบทั้ง 5 แบบ พบว่าวัสดุชนิด โพลีเอทีลีนความหนาแน่สูง HDPE จากขวดนม มีค่าความเค้นดึงมากกว่าแบบอื่นๆ โดยค่าแรงดึงสูงสุดอยู่ที่ 1075.4 นิวตัน เกิดความเค้นสูงสุดอยู่ที่ 19.07 MPa และ วัสดุชนิด ขวดนม 50% ผสมรำ 50% โดยมวล จะมีความเค้นดึงสูงสุดอยู่ที่ 163.47 นิวตัน ความเค้นสูงสุดอยู่ที่ 3.41 MPa ซึ่งใช้ความเค้นดึงน้อยกว่าวัสดุแบบอื่นๆ ผลการทดลองพฤติกรรมการคืบที่เกิดขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกัน พบว่าวัสดุที่ทดสอบทั้งหมดเกิดพฤติกรรมการคืบตัวอย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลาเริ่มต้น  พฤติกรรมการคืบที่เป็นไปในแนวเดียวกันและวัสดุที่มีการคืบมากที่สุดคือ HDPE จากขวดน้ำยาสระผมและวัสดุที่มีการคืบน้อยที่สุดคือวัสดุผสมขวดนม 70% แกลบ 30% โดยมวล


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลทิมา เชาว์ชาญชัยกุล และ วัลลภ หาญณรงค์ชัย.(2558). การผลิตวัสดุดูดซับเสียงจากวัสดุผสมยางโฟม

ธรรมชาติและเส้นใยธรรมชาติ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

เข็มชัย เหมะจันทร์.(2537). เทอร์โมพลาสติดเสริมแรง. ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

วีระพล เปี่ยมสุภัคพงศ์.(2556). ประสิทธิภาพการรับแรงดัดของแผ่นพื้นฉนวนโครงสร้างที่เสริมด้วยวัสดุเสริมแรง

คอมโพสิตเสริมเส้นใย. สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วีระ ลิลาศิลปะศาสน์.(2558). แบบจ าลองพฤติกรรมการคืบของวัสดุผสมพอลิโพรพีลีนและผงไม้ยางพารา. สาขา

วิศวกรรมอุตสาหการและระบบ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.