การทดสอบประสิทธิภาพเครื่องอัดเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวลจากใบอ้อย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและทดสอบประสิทธิภาพเครื่องอัดเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวลจากใบอ้อย โดยเครื่องอัดเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวลที่สร้างขึ้นเป็นเครื่องอัดแบบจานหมุนลูกกลิ้งอยู่กับที่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของช่องอัด เท่ากับ 6 มิลลิเมตร วัตถุดิบที่ใช้คือใบอ้อยที่ผ่านเครื่องบดละเอียดจากรูตะแกรงขนาด 2 มิลลิเมตร และ 3 มิลลิเมตร ทดสอบที่ความเร็วรอบ 310 รอบต่อนาที ผลการทดสอบอัดเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวลจากใบอ้อย พบว่า เม็ดเชื้อเพลิงชีวมวลที่ใช้ใบอ้อยบดผ่านรูตะแกรงขนาด 2 มิลลิเมตร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 5.80 มิลลิเมตร ความยาวเฉลี่ย 45.50 มิลลิเมตร และเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวลที่ผ่านรูตะแกรงขนาด 3 มิลลิเมตร มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 5.85 มิลลิเมตร ความยาวเฉลี่ย 37 มิลลิเมตร ตามลำดับ โดยเครื่องอัดเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวลมีความสามารถในการทำงานสูงสุด 5.27 กิโลกรัมต่อชั่วโมง คิดเป็นประสิทธิภาพในการทำงาน 96 เปอร์เซ็นต์ จากวัถุดิบใบอ้อยบดผ่านรูตะแกรงขนาด 2 มิลลิเมตร และเมื่อนำเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวลมาทดสอบคุณสมบัติทางความร้อน พบว่าที่ความชื้นหลังตากแห้งเฉลี่ย 9.90 เปอร์เซ็นต์ ได้ค่าความหนาแน่นรวมเฉลี่ย 44.00 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และคุณสมบัติทางความร้อนเฉลี่ย 3264.67 แคลอรี่ต่อกรัม
Article Details
References
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนอนุรักษ์พลังงาน. (2558). แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ.
–2579 (Alternative Energy Development Plan:AEDP2015).14 สิงหาคม 2562. กระทรวง
พลังงาน.
นฤมล ภานุน าภา และคณะ. (2560). เชื้อเพลิงอัดเม็ด พลังงานทดแทนที่สะอาด. คู่มือเชื้อเพลิงอัดเม็ด ส านักวิจัย
และพัฒนาการกรมป่าไม้.
นิรัติศักดิ์ คงทน. (2560). การศึกษาและพัฒนาเครื่องสับย่อยพร้อมอัดเม็ดวัสดุเหลือทิ้งจากไร่อ้อยเพื่อเป็น
เชื้อเพลิง . ปรัชญาดุษฎีบัญฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชรินทร์ อุปถัมภ์ และ สมโภชน์ สุดาจันทร์. (2555). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการอัดใบอ้อยส าหรับผลิต
เชื้อเพลิงอัดเม็ด. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหาร บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิราช กิ่งวิชิต. (2560). ผลิตพลังงานทดแทนจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร. โครงงานวิจัย ผู้ช่วยกรรมการ
ผู้จัดการ บริษัทซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จ ากัด (มหาชน) วิทยาลัยการทัพบก.
ลดาวัลย์ วัฒนะจีระ และคณะ. (2556). การปรับปรุงคุณภาพของแท่งเชื้อเพลิงเขียวจากชีวมวลล าไยด้วยวัสดุที่
ช่วยเผาไหม้. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
ศิริชัย ต่อสกุล, จงกล สุภารัตน์ และ นทีชัย ผัสดี. (2555). การออกแบบและสร้างเครื่องอัดเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวล
ด้วยระบบดายน์อัด. ปรัชญาดุษฎีบัญฑิต ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.