รถตัดหญ้าบังคับวิทยุ

Main Article Content

กนกกัญญากรณ์ พรวราขจรกุล ชาญวิทย์ ราชกระโทก เตมีย์ วงษ์ศรี ศุภวัชร นิยมพันธุ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบและสร้างรถตัดหญ้าบังคับวิทยุรวมทั้งหาประสิทธิภาพของรถตัดหญ้าบังคับวิทยุ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รถตัดหญ้าบังคับวิทยุ ตารางบันทึกผลการทดสอบรถตัดหญ้าบังคับวิทยุ ในการดำเนินการสร้างรถตัดหญ้าบังคับวิทยุ คณะผู้วิจัยได้ศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำข้อมูลจากการศึกษาข้อมูลข้างต้นมาดำเนินการพัฒนารถตัดหญ้าบังคับวิทยุ ให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานโดยคณะผู้วิจัยได้คำนึงถึงโครงสร้างที่มีขนาดเหมาะสมสำหรับการใช้งานและปรับปรุงพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพแบ่งการทดสอบออกเป็น 5 ข้อ โดยทำการทดลองข้อละ 5 ครั้ง เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดทดลอง และนำมาหาค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ให้ได้ตามเกณฑ์ตามที่สมมติฐานที่ตั้งไว้ จากการทดลองหาประสิทธิภาพของรถตัดหญ้าบังคับวิทยุ พบว่าผลการหาประสิทธิภาพของรถตัดหญ้าบังคับวิทยุ จากการทดสอบทั้ง 5 ครั้ง สรุปผลการทดลองของรถตัดหญ้าบังคับวิทยุ ได้จำแนกค่าความถูกต้องในแต่ละข้อซึ่งมีผลการทดลองดังต่อไปนี้ 1. บังคับเลี้ยวซ้ายด้วยรีโมทควบคุม ทำการทดลองจำนวน 5 ครั้ง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.00 ซึ่งมีค่าความถูกต้องเท่ากับร้อยละ 100 2. บังคับเลี้ยวขวาด้วยรีโมทควบคุม ทำการทดลองจำนวน 5 ครั้ง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.00 ซึ่งมีค่าความถูกต้องเท่ากับร้อยละ 100 3. บังคับเดินหน้าด้วยรีโมทควบคุม ทำการทดลองจำนวน 5 ครั้ง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.00 ซึ่งมีค่าความถูกต้องเท่ากับร้อยละ 100 4. บังคับถอยหลังด้วยรีโมทควบคุม ทำการทดลองจำนวน 5 ครั้ง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.00 ซึ่งมีค่าความถูกต้องเท่ากับร้อยละ 100 5. การตัดหญ้า ทำการทดลองจำนวน 5 ครั้ง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.00 ซึ่งมีค่าความถูกต้องเท่ากับร้อยละ 100

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จำเนียร ศิลปะวานิช.(2538). เฟือง. กรุงเทพฯ : สกาย บุ๊คส์ จำกัด.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2549). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS . กรุงเทพฯ : วี.อินเตอร์ พริ้นท์.

พรจิต ประทุมสุวรรณ.(2547). พื้นฐานการขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้าด้วยอิเล็กทรอนิกส์กำลัง. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.

มานพ ตันตระบัณฑิต.(2539). ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล.พิมพ์ครั้งที่ 4. ประชาชน, กรุงเทพฯ.น.29-172.

วุฒิชัย ปราบภัยและคณะ. (2554). รถตัดหญ้าควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์.ปริญญานิพนธ์หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต.

สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

สกล นันทศรีวิวัฒน์.(2548). การพัฒนารถตัดหญ้าควบคุมด้วยวิทยุบังคับ.งานวิจัยคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย

ราชภัฏเทพสตรี.

สุชาติ กังวาสจิตต์.(2532). หลักการทำงานเครื่องรับส่งและระบบวิทยุสื่อสาร.กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุรนาถ ศรีลาดเลาและคณะ.(2546). เครื่องตัดหญ้าบังคับวิทยุ. ปริญญานิพนธ์อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต. กรุงเทพฯ : สถาบัน

เทคโนโลยีพระเจ้าเกล้า พระนครเหนือ.

อภิเชษฐ์ การันภูมิ.(2544). อิเล็กทรอนิกส์อย่างง่าย.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์นานมีบุ๊ค.