อุปกรณ์ช่วยแจ้งเตือนผู้พิการทางการได้ยินในห้องพัก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและศึกษาความพึงพอใจต่ออุปกรณ์ช่วยแจ้งเตือนผู้พิการทางการได้ยินในห้องพัก ซึ่งจะช่วยลดปัญหาในการเรียกเตือนผู้พิการทางการได้ยิน ทำให้ผู้พิการทางการได้ยินเข้าถึง และรับรู้ข้อมูลได้มากขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความพึงพอใจต่ออุปกรณ์ช่วยแจ้งเตือนผู้พิการทางการยินในห้องพัก
คณะผู้วิจัยทำการสอบถามความพึงพอใจต่ออุปกรณ์ช่วยแจ้งเตือนผู้พิการทางการยินในห้องพัก จากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนนักศึกษาผู้พิการทางการได้ยิน วิทยาลัยสารพัดช่างสุรินทร์ จำนวน 12 คน เป็นผู้ทดลองใช้อุปกรณ์ช่วยแจ้งเตือนผู้พิการทางการยินในห้องพัก ในภาพรวมของผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างมีความเห็นต่ออุปกรณ์ช่วยแจ้งเตือนผู้พิการทางการได้ในห้องพัก ตามข้อความคิดเห็น โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ดังนี้ อุปกรณ์ช่วยแจ้งเตือนผู้พิการทางการได้ยินในห้องพัก ทำงานได้ดีและสมบูรณ์ มีค่าเฉลี่ย ( =4.92, S.D.= 0.29) อยู่ในระดับคะแนน มากที่สุด เคลื่อนย้าย และติดตั้งได้สะดวก มีค่าเฉลี่ย ( =4.42, S.D.= 0.51) อยู่ในระดับคะแนน มาก, โครงสร้างของอุปกรณ์มีความปลอดภัย มีความคงทนและแข็งแรงมีประสิทธิภาพ ( =4.17, S.D.= 0.58) อยู่ในระดับคะแนน มาก สามารถใช้งานได้จริง มีประสิทธิภาพ มีค่าเฉลี่ย ( =4.08, S.D.= 0.67) อยู่ในระดับคะแนน มาก และออกแบบระบบการทำงานได้อย่างถูกต้อง ( =3.50, S.D.= 0.52) อยู่ในระดับคะแนน มากค่าระดับคะแนนเฉลี่ยของความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับ 4.22 จากคะแนนเต็ม 5 ซึ่งแปลความหมายได้ว่า อยู่ในระดับมาก
Article Details
References
สรวิชญ์ หมื่นจำนงค์ และคณะ. (2560). ระบบแจ้งเตือนไร้สายภายในอาคารสำหรับผู้พิการหูหนวก.นครปฐม : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
อภิไธย สงวนรัษฎ์. (2549). การพัฒนาระบบเตือนภัยภายในที่พักอาศัย. นครนายก : สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
___________. วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://sites.google.com/site/pranget58/wngcr-fifa-beuxng-tn. สืบค้น 20 ก.พ. 2563
___________. ความพิการทางการได้ยิน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttps://www.oocities.org/nadtthai/deafnessth.html. สืบค้น 20 ก.พ. 2563