การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวของปัจจัยความเร็วรอบของใบมีดที่มีผลต่อประสิทธิภาพของเครื่องสับใบไม้จากการปรับขนาดมูเล่ย์ตาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความเร็วรอบของใบมีดที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการย่อยของเครื่องสับใบไม้ โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว คณะผู้วิจัยทดความเร็วรอบของใบมีดจากการปรับขนาดมูเล่ย์ตาม 3 ขนาด คือ 8 10 และ 12 นิ้ว ตามลำดับ มีความเร็วรอบของใบมีด เท่ากับ 543.75 435 และ 362.5 รอบต่อนาที ตามลำดับ และทดลองซ้ำ 4 รอบเพื่อหาประสิทธิภาพในการย่อยของแต่ละระดับของความเร็วของใบมีด ผลการทดลองพบว่า ในความเร็วรอบของใบมีดที่ 543.75 435 และ 362.5 รอบต่อนาที มีประสิทธิภาพในการย่อยเฉลี่ย ร้อยละ 88.10 86.41 และ 83.06 ตามลำดับ และมีความสามารถในการย่อยเฉลี่ย 17.04 14.21 และ 6.63 กก./ชั่วโมง ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่า ความเร็วรอบของใบมีดไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการย่อย ทั้งนี้ที่ระดับความเร็วรอบของใบมีดที่ 543.75 รอบต่อนาที มีค่าประสิทธิภาพในการย่อยโดยเฉลี่ยและความสามารถในการย่อยเฉลี่ยสูงสุด เครื่องสับย่อยใบไม้ต้นแบบจึงควรเลือกใช้ขนาดมูเล่ย์ตามขนาด 8 นิ้ว เป็นองค์ประกอบของตัวส่งกำลังเครื่องสับย่อยใบไม้
Article Details
References
Montgomery, D. C., Peck, E. A., and Vining, G. G. (2012). Introduction to linear regression
analysis. (5). Hoboken: John Wiley & Sons.
กรมควบคุมมลพิษ. (2560). รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี 2559. กรุงเทพฯ :
ธเรศ ศรีสถิตย์. (2559). การบริหารจัดการขยะ 5R (ออนไลน์). เข้าได้ถึงจาก :
https://library.mju.ac.th/km/?p=583 สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2563
ลักขณา บุญส่งศรีกุล. (2555). การออกแบบและการสร้างเครื่องย่อยเศษผ้า. ขอนแก่น:
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วีรเดช เกตุมรรค และ พงศกร สุรินทร์. (2555). การทดความเร็วรอบ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ :
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). เครื่องจักรกลเกษตร. กรุงเทพฯ : ครุสุภาลาดพร้าว.