การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตน้ำดื่มด้วยการหาขนาดการผลิตที่เหมาะสม

Main Article Content

ณัฐพล พันธ์เพ็ชร ศิริรัตน์ อ่อนไธสง อทิตยา เสยกระโทก ศิวพร สุกสี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขนาดการผลิตในกระบวนการผลิตน้ำดื่มและค่าใช้จ่ายในการสั่งผลิต เพื่อหาประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตน้ำดื่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ Silver and Meal heuristic (SM) และ Least Unit Cost (LUC)  โดยใช้ข้อมูลปริมาณความต้องการของลูกค้าภายในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2560 เป็นเวลา 31 วัน และมีการเปิดใช้เครื่องจักรเพื่อทำการผลิตวันละ 5 ชั่วโมงทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 – 11.00 น. ก่อให้เกิดต้นทุนในการผลิต โดยเฉพาะค่าไฟฟ้าสำหรับเครื่องจักรที่ค่อนข้างสูง ผลการวิจัยพบว่า การหาขนาดการผลิตน้ำดื่มที่เหมาะสมด้วยวิธีการ Silver and Meal heuristic (SM) มีต้นทุนรวมในการสั่งผลิต 143.181 บาทต่อเดือน สามารถลดต้นทุนค่าไฟฟ้า ร้อยละ 87.5 ต่อเดือน และการหาขนาดการผลิตด้วยวิธีการ Least Unit Cost (LUC) มีต้นทุนรวมในการสั่งผลิต 198.974 บาทต่อเดือน สามารถลดอัตราค่าไฟฟ้าลงได้ ร้อยละ 70.83 ต่อเดือน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิ่งกาญจน์ ผลิกะ และ นพปฎล สุวรรณทรัพย์. (2559, มกราคม - มิถุนายน). “การบริหารสินค้าคงคลังโดย

การประยุกต์ใช้ทฤษฎี ABC Classification Analysis เทคนิค EOQ Model และวิธี Silver-Meal:

กรณีศึกษา บริษัท XYZ”วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11(1)

: 102-113.

เฉลิมศักดิ์ ถาวรรัตน์ และ ระพี กาญจนะ. (2556, กรกฎาคม - ธันวาคม). “การปรับปรุงระบบการจัดการสินค้า

คงคลัง”.วารสารวิศวกรรมศาสตร์ราชมงคลธัญบุรี. 11(2) : 13-23.

สุนิติยา เถื่อนนาดี ธัญญาพร เหล็กดีมาริสา สาระจันทร์และคณะ .(2562, กรกฎาคม - กันยายน).

“การเปรียบเทียบวิธีการกำหนดปริมาณสั่งซื้อสำหรับสินค้าที่ปริมาณความต้องการไม่สม่ำเสมอของร้านค้า

ปลีกอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์”.วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 29(3) : 388-396.

Blackburn, J. D., & Millen, R. A. (1980, August). “Heuristic lot‐sizing performance in a rolling‐

schedule environment”. Decision Sciences. 11(4) : 691-701.

Karimi, B., Ghomi, S. F., & Wilson, J. M. (2003, October). “The capacitated lot sizing problem: a

review of models and algorithms”. Omega. 31(5) : 365-378.