การศึกษาระบบการทำความเย็นแบบระเหยและแบบพ่นหมอกสำหรับโรงเรือนเพาะเห็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุณหภูมิและความชื้น ผลผลิตของเห็ด อัตราการสิ้นเปลืองพลังงานและการใช้น้ำของโรงเรือนเพาะเห็ดที่ใช้ระบบทำความเย็นแบบระเหยและแบบพ่นหมอก โดยทำการทดลองเพาะเห็ดนางฟ้าที่ควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเพาะเห็ดระหว่าง 28 - 30 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ระหว่าง 75 - 85 เปอร์เซ็นต์ พบว่าโรงเรือนเพาะเห็ดที่ใช้ระบบทำความเย็นแบบระเหยและแบบพ่นหมอกสามารถควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเพาะเห็ดเฉลี่ยเท่ากับ 29.3 และ 31.3 องศาเซลเซียส ตามลำดับ โรงเรือนเพาะเห็ดที่ใช้ระบบทำความเย็นแบบระเหยสามารถให้ผลผลิตของเห็ดมากกว่าแบบพ่นหมอกร้อยละ 22.33 และมีอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานสูงกว่าแต่โรงเรือนเพาะเห็ดที่ใช้ระบบทำความเย็นแบบระเหยจะมีการใช้น้ำต่ำกว่าแบบพ่นหมอก
Article Details
References
นฤมล มงคลธนวัฒน์. (2557, มกราคม - มีนาคม). “เห็ดแครง : เห็ดพื้นบ้านที่มากด้วยคุณค่า”. Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST). 26(1) : 118-127.
นัทธีรา สรรมณี ปรารถนา เผือกวิไล กมลชนก พานิชการ สิริประภัสสร์ ระย้าย้อย ศศิธร สายแก้ว ไพศาล เอื้อสินทรัพย์ และกาญจนา สุราภา. (2564, มกราคม - เมษายน). “การประยุกต์ปุ๋ยหมักเพื่อเป็นอาหารเสริมต่อการเพาะเห็ดฟาง : การลดของเสียทางการเกษตรด้วยวิธีการหมักปุ๋ย และการเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วย
การเพาะเห็ด”. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 9(1) : 158-169.
ประพัน ลี้กุล และพรพิมล ฉายแสง. (2561, มกราคม - มีนาคม). “การประยุกต์ใช้งานสายอากาศโมโนโพลสำหรับระบบควบคุมความชื้นอัตโนมัติในโรงเรือนเพาะเห็ด”. Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST). 26(1), 118-127.
ปรียา มะโนรัตน์ จิราพร กุลสาริน ไสว บูรณพานิชพันธุ์ และธัญญา ทะพิงค์แก. (2563, กันยายน - ธันวาคม).
“ผลของสารสกัดจากพืชบางชนิดต่อการเติบโตของเห็ดถั่งเช่าหิมะ”. วารสารเกษตร. 36(3) : 357-364.
พลเทพ เวงสูงเนิน วารี ศรีสอน ขนิษฐา ชัยบรรดิษฐ และจาริณี จงปลื้มปิติ. (2564, มกราคม - ธันวาคม).
“การพัฒนาเครื่องอัดก้อนวัสดุเพาะเห็ดฟางแบบกึ่งอัตโนมัติ”. วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ. 7(1) : 10-20.
แฟรงค์ ชาญบุญญสิทธิ์ ศุภวัฒน์ หนูผึ้ง กนกพร ทองประกอบ นภาภรณ์ สุทธิกลม วินัย กลิ่นหอม
และอุษา กลิ่นหอม. (2563, พฤษภาคม - สิงหาคม). “การใช้ประโยชน์จากกลุ่มเห็ดพิมานในการดูแลสุขภาพตามภูมิปัญญาการแพทย์ดั้งเดิม”. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 18(2) : 245-258.
สัญญา ควรคิด ก้องภพ ชาอามาตย์ และธวัชชัย ทองเหลี่ยม. (2564, พฤษภาคม - สิงหาคม). “การพัฒนาต้นแบบระบบควบคุมการเพาะเห็ดหลายชนิดภายในโรงเรือน”. วารสารงานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์โดยสมาคม ECTI. 1(2) : 1-7.
สุทธิชัย สมสุข. (2553, มีนาคม - เมษายน). “ผลของการใช้วัสดุเพาะและวัสดุอาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ร่วมกับกลุ่มจุลินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพต่อผลผลิตเห็ดฟางที่เพาะในตะกร้าพลาสติก”. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 18(2) : 17-36.
อาชวิน ใจแก้ว. (2560, มกราคม - เมษายน). “การเพิ่มศักยภาพการผลิตและการตลาดผลผลิตเห็ดของกลุ่มธุรกิจชุมชนรวมใจพอเพียง ตำบลช่อแล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่”. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 7(1) : 29-43.
เอกลักษณ์ สุมนพันธุ์ รัตนพงษ์ ธงชัย และชัชพงษ์ คำชื่น. (2564, พฤษภาคม - มิถุนายน). “ระบบควบคุมและแจ้งเตือนการเจริญเติบโตของเห็ดนางฟ้าภูฐานด้วยการประมวลผลภาพและอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง”.
วารสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม. 2(3) : 1-10.