การประชาสัมพันธ์วิทยานิพนธ์นักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เรื่อง การพัฒนาและประสิทธิภาพชุดแผงกันแดด ด้วย Passive & Active Mixed Cooling System ผ่าน Facebook Fanpage

Main Article Content

อภิชัย ไพรสินธุ์ นิคม ลนขุนทด อัษฎา วรรณกายนต์ อรุณ อุ่นไธสง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์วิทยานิพนธ์นักศึกษา  สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเรื่อง การพัฒนาและประสิทธิภาพชุดแผงกันแดด ด้วย Passive & Active Mixed Cooling System ผ่าน Facebook Fanpage และประเมินความพึงพอใจในการประชาสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ที่สนใจที่เข้ามา       เยี่ยมชม และเข้ามามีส่วนร่วมในเฟซบุ๊กแฟนเพจหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม             คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำนวน 70 คน  ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก  เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ สื่อประชาสัมพันธ์ และแบบประเมินความพึงพอใจในการประชาสัมพันธ์ คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์วิทยานิพนธ์นักศึกษา โดยใช้สื่อใน 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) แบนเนอร์ 2) โปสเตอร์ และ3) แผ่นพับ จากนั้นสร้างข้อความ แทรกสื่อประชาสัมพันธ์ และกดโพสต์ข้อมูล โดยกลุ่มตัวอย่างจะเข้าไปรับชมมีส่วนร่วม และประเมินความพึงพอใจในการประชาสัมพันธ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัย พบว่า การประชาสัมพันธ์วิทยานิพนธ์นักศึกษาเป็นการนำเสนอผลงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา  สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  ที่ได้ศึกษา ค้นคว้า และเรียบเรียงขึ้นอย่างเป็นระบบ เสนอข้อมูลด้วย               สื่อที่มีความหลากหลาย ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ ที่สามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับจากการทำวิทยานิพนธ์ได้อย่างรวดเร็ว สามาถนำไปใช้ในการออกแบบชุดแผงกันแดดที่เหมาะสมกับตึกแถว อาคารพาณิชย์หรือห้องพักในอาคารสูง ซึ่งมีข้อจำกัดในด้านพื้นที่ภายในเมือง ใช้ในการบังแดด พรางแสง  ลดความร้อนที่จะเข้าสู่ภายใน สร้างสภาวะน่าสบาย ลดการใช้พลังงาน และผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่มีสถานะภาพเป็นเพศชาย จำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 65.7 อยู่ในช่วงอายุ 26-35  ปี จำนวน 42 คน  คิดเป็นร้อยละ 60  จบการศึกษาในระดับสูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 57.1 และมีอาชีพเป็นข้าราชการ/พนักงานของรัฐ  จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 54.3 และผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58 , SD.= 0.56)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2 : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : กรุงเทพมหานคร.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2549). การวิจัยและวิเคราะห์ทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 5. วี.อินเตอร์ พริ้นท์ : กรุงเทพมหานคร.
ชมพูนุท เมฆเมืองทองและศิริประภา แสงจิตร. (2561). การพัฒนาสื่อใหม่เพื่อการประชาสัมพันธ์สาขาภาษาไทย
เพื่อการสื่อสารด้วยสื่อสังคมออนไลน์. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ปีที่ 5 ฉบับที่ 2.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558.
(2558, 13 , พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนพิเศษ 295 ง. หน้า 15.
บัณฑิตวิทยาลัย. (2558). คู่มือวิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ : สุรินทร์.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. (2561). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับ
บัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ สุรินทร์.
พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. (2554). สื่อสังคมออนไลน์ : สื่อแห่งอนาคต. วารสารนักบริหาร (Executive Journal).
ปีที่ 31 ฉบับที่ 4, หน้าที่ 99-103
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. (2562). หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2562. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ สุรินทร์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). หนังสือรายวิชาพื้นฐาน
คณิตศาสตร์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 9. โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว : กรุงเทพมหานคร.
สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2563) กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการใช้
เฟซบุ๊ก (Facebook). ค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2563. https://1th.me/9cLsA.
ศูนย์ข้อมูลข่าวส่วนอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์. (2563). การสื่อสารการตลาดผ่าน Facebook ของแบรนด์ระดับโลก
ในแถบประเทศอาเซียน. ค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2563.
http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=6133&filename=in.
อภิชัย ไพรสินธุ์, นิคม ลนขุนทด, อรุณ อุ่นไธสง, อัษฎา วรรณกายนต์ และเที่ยงธรรม สิทธิจันทเสน. (2562).
“การพัฒนาและประสิทธิภาพชุดแผงกันแดดด้วย Passive & Active Mixed Cooling System”.
วารสารคชสาสน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 41(1): 69-84. (TCI 2)