การศึกษาเวลามาตรฐานในกระบวนการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ ด้วยการจับเวลาโดยตรง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จและเพื่อกำหนดเวลามาตรฐานในกระบวนการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จซึ่งโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จที่เป็นกรณีศึกษาอยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ การวิจัยครั้งนี้ประยุกต์ใช้วิธีการศึกษาการทำงานโดยใช้แบบฟอร์มบันทึกกิจกรรมในการบันทึกขั้นตอนการผลิต แบบฟอร์มบันทึกข้อมูลเวลา โดยทำการศึกษาขั้นตอนการผลิต และนำผลจากบันทึกการปฏิบัติงานมาทำการวิเคราะห์และหาเวลามาตรฐานของกระบวนการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ ซึ่งกระบวนการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ (1) การเตรียมเครื่องมิกซ์ (2) การเตรียมวัตถุดิบ (3) การผสมวัตถุดิบ และ(4) การปล่อยปูน และสามารถแยกเป็นงานย่อยได้ 13 งานย่อย ซึ่งหาเวลามาตรฐานโดยใช้วิธีการจับเวลางานย่อยละ 10 รอบ แล้วคำนวณหาจำนวนรอบในการจับเวลาที่เหมาะสมโดยใช้ตาราง Maytag ที่ความเชื่อมั่นของข้อมูล 95% และความผิดพลาดไม่เกิน ±5% ทำให้ต้องไปเก็บข้อมูลเพิ่มอีก 7 รอบ จากนั้นคำนวณหาเวลาเผื่อในการทำงานเพื่อกำหนดเวลามาตรฐาน จากการคำนวณหาเวลามาตรฐานพบว่า ในกระบวนการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จมีเวลามาตรฐานที่ได้คือ 236.79 วินาที หรือเท่ากับ 3.95 นาที ต่อการผลิตครึ่งคิว นั่นคือผลิตคอนกรีตผสมเสร็จได้ 53 คิวต่อวัน
Article Details
References
รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม (2553). การศึกษางานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ท้อป.
กิตติชัย อธิกุลรัตน์ (2562). การศึกษาเวลามาตรฐานการติดตั้งแม่พิมพ์ กรณีศึกษา บริษัทผลิตถุงพลาสติก. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี. 17(2), 77-90.
คมกริช เมืองมูล, นัดฐพร กาแต และมนินทรา ใจคําปน (2559). การศึกษาเวลามาตรฐานในการผลิตกลองกระดาษลูกฟูก กรณีศึกษา หางหุ้นส่วนจำกัด เรืองชนะแพ็คกิ้ง. วารสารวิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต. 6(1), 107-121.
ประกอบ จิตตระการ และคณะ (2555). การศึกษาเวลามาตรฐานที่ใช้ในการจ่ายยาผู้ป่วยนอกโดยวิธี Stop watchtime technique. วารสารวิจัย มข. 17(3), 493-504.
ผันสุ ชุมวรฐายี (2551). การศึกษาเวลามาตรฐานการทำงาน และการกำหนดอัตรากำลัง ในงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร, 23(1), 53-65.
ธรรมศักดิ์ ค่วยเทศ, ธีรพล เถื่อนแพ และนิศาชล จันทรานภาสวัสดิ์ (2563). การลดความสูญเปล่าในกระบวนการทำงานของอุตสาหกรรมบริการด้านโรงแรมโดยการวิเคราะห์แผนภูมิการไหล. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 31(1), 180-192.
พรศิริ คำหล้า และคณะ (2564). การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเตาถ่านกรณีศึกษา โรงเตาในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ. 14(3), 1-9.
วันชัย ริจิรวนิช (2552). การศึกษาการทำงาน หลักการและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วุฒิพร ศรีไพโรจน์ (2558). การปรับปรุงกระบวนการผลิตและกำลังคนต่อสายการผลิต เพื่อลดต้นทุนแรงงาน. (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.