เครื่องขึ้นรูปภาชนะจากวัสดุธรรมชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องขึ้นรูปภาชนะจากวัสดุธรรมชาติ แทนการใช้กล่องโฟม ที่ใช้ใส่อาหาร ซึ่งส่งผลเสียต่อธรรมชาติ คณะผู้วิจัยได้สร้างเครื่องขึ้นรูปภาชนะ จากวัสดุธรรมชาติเพื่อนำมาทำการอัดขึ้นรูปภาชนะใส่อาหาร ประกอบด้วย ปั้มลมขนาด 8 บาร์ กระบอกลมนิวแมติกส์ ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าวาล์วควบคุมต่าง ๆ และชุดรับแรงกดรวมถึงแม่พิมพ์ ภาชนะใส่อาหาร ซึ่งเครื่องขึ้นรูปภาชนะจากวัสดุธรรมชาตินี้ สามารถอัดขึ้นรูปภาชนะใส่อาหารได้ที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 140 มิลลิเมตร ได้ครั้งละ 1 ชิ้น ผลการวิจัย พบว่า จากการทดลองขึ้นรูปที่ความดัน 6 บาร์ ขึ้นรูปใช้วัสดุกาบหมาก ขนาดถ้วย 5 นิ้ว ที่แช่น้ำในเวลา 15 นาที พบว่า ความชื้นที่มีค่า ร้อยละ 2.74-5.71 นั้นชิ้นงานมีความเสถียร ไม่บิดงอหลังจากการขึ้นรูป โดยเวลาที่น้อยที่สุด 3 นาทีที่อุณหภูมิ 140 องศา และการขึ้นรูปถ้วย ขนาด 5 นิ้ว ใช้วัสดุกาบกล้วย แช่น้ำในเวลา 20 วินาที พบว่าความชื้นที่มีค่า ร้อยละ 2.25-6.41 นั้นชิ้นงานมีความเสถียร ไม่บิดงอหลังจากการขึ้นรูป โดยเวลาที่ใช้น้อยที่สุด 2 นาทีเมื่ออุณหภูมิ 140 องศาในการผลิต 1 วัน ทำางาน 8 ชั่วโมง สามารถผลิตถ้วยจากกาบหมากได้ 20 ใบต่อชั่วโมง และกาบกล้วย สามารถผลิตได้ 30 ใบต่อชั่วโมง โดยถ้วยที่ใช้ได้คิดเป็น 70 % ของถ้วยทั้งหมดที่ผลิตได้
Article Details
References
ษณลักาณ์ ศรีคงเดช. (2543) . “คอลัมน์ช่องทางทำกินกระถางผักตบชวาลดมลพิษผลิตรายได้เพิ่ม”.
เดลินิวส์. (27 กรกฎาคม).
พลชนะ คงนนท์ และพงศธร ตฤษณเกษม. (2564). เครื่องขึ้นรูปภาชนะจากวัตถุดิบธรรมชาติ
“RSU DISH MAKER”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www2.rsu.ac.th/sarnrangsit-online-
detail/RSU%20Dish%20Maker. สืบค้น 12 มกราคม 2564.
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา.(2558). ภาชนะจากใบไม้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/
site/phachanajakbaimai/home/keiyw-kab-khorng-ngan. สืบค้น 21 กุมภาพันธ์ 2564.
จริญญา มีมุสิทธิ์ ศิริวรรณ ชูช่วย จิระพงศ์ แก้วเจริญ และเกษมสิทธิ์ ตั้งจรัสสุวรรณ. (2564). เครื่องขึ้นรูปภาชนะ
บรรจุอาหารภาชนะบรรจุภัณฑ์ธรรมชาติปลอดสารพิษ. หลักสูตรวิศวกรรมการผลิต
สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
โครงการยุวชนอาสา (Proposal) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สนับสนุนงบประมาณโดยกองขับเคลื่อน
และพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม.