การสร้างและหาประสิทธิภาพถาดปลูกพืชจากมูลช้าง สำหรับใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม

Main Article Content

กัญจนาภรณ์ เจริญผล อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์

บทคัดย่อ

การสร้างและหาประสิทธิภาพของถาพปลูกพืชจากมูลช้างสำหรับใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาถาดปลูกพืชจากมูลช้าง และ เพื่อหาประสิทธิภาพของถาดปลูกพืชจากมูลช้าง ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตถาดปลูกพืชจากมูลช้างที่มีความหมาะสม คือ มูลช้าง : แป้งเปียก : ขุยมะพร้าวโดยใช้มูลช้าง 173 กรัม แป้งเปียก 130 กรัม ขุยมะพร้าว 86 กรัม ต่อการผลิตถาดจำนวนหนึ่งถาดซึ่งขนาดของถาดปลูกพืชจากมูลช้างมีขนาด 2 x 6 ช่อง มีความหนา 5 มิลลิเมตร มีความสูง 38 มิลลิเมตร ลักษณะภายนอกเรียบและผลการหาประสิทธิภาพของถาดปลูกพืชจากมูลช้าง  พบว่า 1) ผลการทดสอบความแข็งแรงของถามดปลูกพืชจากมูลช้าง พบว่าถาดปลูกจากมูลช้างยังคงมีสภาพสมบูรณ์ เมื่อนำถาดโยนจากความสูง 5 เมตร เป็นจำนวน 3 ครั้ง และเมื่อนำถาดไปทดสอบการกดทับด้วยอิฐบล็อก จำนวน 5 ก้อน (30 กิโลกรัม) แสดงว่าถาดปลูกพืชจากมูลช้างมีความแข็งแรง  2) จากการทดสอบการดูดซับน้ำของถาดปลูกพืชจากมูลช้างมีการอ่อนตัวลง แต่ยังคงสภาพเดิมไม่มีการฉีกขาด แสดงว่าถาดปลูกพืชจากมูลช้างมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดสามารถนำถาดมาใช้งานภูมิสถาปัตยกรรมได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณ์อนงค์ ว่องวไรรัตน์ และคณะ.(2554). ภาชนะชีวภาพจากวัสดุทางธรรมชาติ.

โรงเรียนจุฬาพรณ์ราชวิทยาลัย. พิษณุโลก.

โป๋เป๋. (2553). สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ .วารสารมูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย.8(2) : 10 – 15.

อลงกรณ์ มหรรณพและคณะ. (2551). ช้าง. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์

ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว: ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม 12. โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.