แอพพลิเคชั่นระบบปฏิบัติการแอนดรอย เรื่องการเลือกรับประทานอาหารเฉพาะโรค -
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการแอนดรอย เรื่อง การเลือกรับประทานอาหารเฉพาะโรค วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่นระบบปฏิบัติการแอนดรอย เรื่อง การเลือกรับประทานอาหารเฉพาะโรค เพื่อหาประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการแอนดรอย เรื่อง การเลือกรับประทานอาหารเฉพาะโรค เพื่อหาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อแอพพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการแอนดรอย เรื่อง การเลือกรับประทานอาหารเฉพาะโรค โดยกลุ่มตัวอย่างการวิจัยครั้งนี้ เป็นเจ้าหน้าที่และบุคคลทั่วไป ผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบเจาะจงจากผู้ป่วย 10 โรคโรคละ 3 คน จำนวน 30 คน ในแอพพลิเคชั่นระบบปฏิบัติการแอนดรอย เรื่องการเลือกรับประทานอาหารเฉพาะโรค ผู้วิจัยได้เลือกใช้โปรแกรม Android Studio สร้างแอพพลิเคชั่นระบบปฏิบัติแอนดรอย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบในการสร้างแอพพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการแอนดรอย เรื่อง การเลือกรับประทานอาหารเฉพาะโรค ประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่นระบบปฏิบัติการแอนดรอย เรื่องการเลือกรับประทานอาหารเฉพาะโรค โดยคิดจากแบบประเมินประสิทธิภาพของกลุ่มตัวอย่าง เมื่อพิจารณาระดับของการประเมินคุณภาพของแอพพลิเคชั่นระบบปฏิบัติการแอนดรอย เรื่องการเลือกรับประทานอาหารเฉพาะโรค ทางด้านประสิทธิภาพด้านเนื้อหา มีค่าเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 4.41 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.64 รูปภาพ ด้านแอพพลิเคชั่น มีค่าเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 4.24 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.65 และด้านการออกแบบ มีค่าเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 4.24 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.53 แสดงแอพพลิเคชั่นระบบปฏิบัติการแอดรอย เรื่องการเลือกรับประมานอาหาร มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับพอใจมาก ซึ่งมีเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในสมมติฐาน
Article Details
References
กรรณิการณ์ ห่อหุ้ม ธัญลักษณ์ ณ รังสี. (2556). แอพลิเคชันบนมือถือเพื่อการท่องเที่ยวอุทยาน
แห่งชาติในประเทศไทย. วิทยาศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ .
เกษม นันทชัยรัชฎาตั้งวงศ์ไชย และวีระ ภาคอุทัย. (2550). สถานการณความปลอดภัยด้านผักและผลไมกรณี
ตลาดนัดรถเร่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ). ขอนแกน : โรงพิมพแอนนาออฟเซต.
ปาลิต คำนวณศิลป์. (2552). พฤติกรรมการบริโภคอาหารเสริมของนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
หทัยกาญจน์ โสตดี, อัมพรฉิมพลี. (2550). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษา.
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
อาณดี นิติธรรมยง. (2551). การวิจัยและการพัฒนาเพื่อสุขภาพ. สถาบันโภชนาการ. มหาวิทยาลัยมหิดล.