การออกแบบ และพัฒนาซุ้มประตูฆ่าเชื้ออัตโนมัติ -

Main Article Content

ชนิภา พลพงษ์ ชัยมงคล งามแสง วุฒิชัย พลพงษ์ โกศัลย์ บัวภา

บทคัดย่อ

การจัดทำโครงการวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบ และพัฒนาซุ้มประตูฆ่าเชื้ออัตโนมัติ 2) เพื่อหาประสิทธิภาพซุ้มประตูฆ่าเชื้ออัตโนมัติ โดยการทดลองใช้ภายในวิทยาลัยเทคนิคราษีไศล อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เนื่องจากปัญหาในปัจจุบันโรคติดต่อโควิด 19 (Covid-19) กำลังแพร่ระบาดอย่างหนัก และอาจมีผู้ที่ติดเชื้อนำเชื้อโรคชนิดนี้เข้ามายังวิทยาลัย ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื่อ นักศึกษาแผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จึงมีแนวคิดในการออกแบบ และพัฒนาซุ้มประตูฆ่าเชื้ออัตโนมัติ เพื่อฉีดพ่นแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อสำหรับผู้ที่เดินผ่านซุ้มประตูฆ่าเชื้อก่อนเข้ามายังวิทยาลัยเทคนิคราษีไศล อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ และเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคติดต่อโควิด 19 (Covid-19) ที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมาตรการป้องกันโรคติดต่อของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) ซึ่งมีความเสี่ยงเป็นอย่างมากต่อผู้บริหาร คณะครู บุคคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่เข้ามาติดต่อ ราชการภายในวิทยาลัยเทคนิคราษีไศล อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ


            การออกแบบซุ้มประตูฆ่าเชื้ออัตโนมัติ ได้ออกแบบเป็นซุ้มประตูมีความกว้าง 1.30 เมตร ยาว 1.30 เมตร สูง 2.10 เมตร โดยหลักการทำงานของซุ้มประตูฆ่าเชื้ออัตโนมัติ คือเมื่อเดินผ่านเข้าซุ้มประตูฆ่าเชื้อเครื่องจะพ่นแอลกอฮอล์เป็นละอองฝอย เป็นเวลา 6-10 วินาทีโดยอัตโนมัติ ภายในซุ้มประตูฆ่าเชื้ออัตโนมัติ ได้มีการติดตั้งเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว เชื่อมต่อกับชุดพ่นหมอกเพื่อทำให้สามารถพ่นแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้ออัตโนมัติ เพียงแค่เดินผ่านเข้าซุ้มประตูฆ่าเชื้ออัตโนมัติ ผลการทดสอบประสิทธิภาพการทำงาน พบว่า มีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ระดับ ดีมาก จึงสรุปได้ว่า ตู้ฆ่าเชื้ออัตโนมัติมีประโยชน์ ช่วยในการแก้ปัญหา และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2563). สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย. [แหล่งสืบค้นออนไลน์] : https://ddc.moph. go.th/viralpneumonia/. เข้าถึงเมื่อ 30 เมษายน 2563.

พรรณิกา วรผลึก. (2563). การศึกษาประสิทธิภาพของสิ่งประดิษฐ์หุ่นยนต์ฉายรังสีอัลตราไวโอเลตซี ในการฆ่าเชื้อจุลชีพ: กรณีการรับมือการระบาดโรคโควิด-19 .วิสัญญีสาร 2563; 46(3) ฉบับพิเศษ

องค์การอนามัยโลก. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. [แหล่งสืบค้นออนไลน์] : https://www.who.int /docs/default-source/searo/thailand/2020-03-19-thasitrep-26-covid19-th-final.pdf?sfvrsn=5b88c7570. เข้าถึงเมื่อ 30 เมษายน 2563.

Baird, Robert P. (11 March 2020). "What It Means to Contain and Mitigate the Coronavirus". The New Yorker.