การพัฒนาชุดการเคลื่อนไหวด้วยโมชันแคปเจอร์สำหรับการสอนนาฏศิลป์ ในรูปแบบออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

นวัฒกร โพธิสาร เนติรัฐ วีระนาคินทร์

บทคัดย่อ

การเคลื่อนไหวที่สมจริงของสื่อการสอนมีความจำเป็นต่อการจัดการเรียนรู้สาขาวิชานาฏศิลป์ในรูปแบบออนไลน์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์ในรูปแบบออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) สร้างการเคลื่อนไหวด้วยโมชันแคปเจอร์สำหรับการสอนนาฏศิลป์ในรูปแบบออนไลน์ 3) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาชุดการเคลื่อนไหวที่พัฒนาขึ้น และ 4) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อชุดการเคลื่อนไหว จำแนกตามสาขาวิชา กลุ่มเป้าหมายในงานวิจัยเชิงคุณภาพ คือ นักศึกษาและอาจารย์สาขาวิชานาฏศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จำนวน 14 คน และกลุ่มตัวอย่าง ในงานวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 30 คน คือ นักศึกษาสาขาวิชานาฏศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ชุดการเคลื่อนไหวด้วยโมชันแคปเจอร์ในชุดการแสดงรำฉุยฉาย และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน และสถิติเปรียบเทียบ t-test แบบ Independent ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอน พบว่า การใช้สื่อวิดีโอจะทำให้นักศึกษามีความเข้าใจที่คาดเคลื่อนจากมุมมองและองศาของกล้องที่กำหนดตำแหน่งไว้แบบคงที่ และการวางตำแหน่งกล้องไกลเกินการมองเห็นของนักศึกษา รวมไปถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ไม่เสถียร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการเข้าถึงกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์ และเสียงรบกวนจากภายนอก 2) ผลการสร้างการเคลื่อนไหวด้วยโมชันแคปเจอร์ ในชุดการแสดงรำฉุยฉาย โดยผลการออกแบบตัวละคร พบว่า สามารถออกแบบตัวละครหญิงได้ การเคลื่อนไหวของตัวละครมีความถูกต้องตามต้นฉบับ มุมมองและองศาสามารถดูได้แต่ไม่สามารถเปลี่ยนมุมมองและองศาได้ อยู่ในรูปแบบไฟล์วิดีโอ มีความยาว 7.25 นาที และตัวละครมีการเคลื่อนไหวที่สมจริง 3) ผลการการศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อการเคลื่อนไหวโมชันแคปเจอร์ พบว่า ระดับค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 4) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อชุดการเคลื่อนไหว จำแนกตามสาขาวิชา โดยรวมพบว่า สาขาวิชาที่แตกต่างมีความคิดเห็นไม่แตกต่าง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภิตินันท์ อะภัย, ตรีธวัฒน์ มีสมศักดิ์, อาทิตยา ผิวขำ และจารุวรรณ ส่งเสริม. (2564). แนวทางการออกแบบรูปแบบการสอนออนไลน์ด้านศิลปะการแสดง กรณีศึกษา: วิชานาฏศิลป์ไทยพื้นบ้านหลักสูตรศิลปะการแสดง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 25(2), 123 - 136.

จุฑาทิพย์ อรุณรัตน์ และเทียมยศ ปะสาวะโน. (2563). การผลิตสื่อวีดิทัศน์ออนไลน์โดยการเรียนรู้แบบ หรรษา รายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 7(1), 218 - 231.

ฉันทนา ปาปัดถา. (2561). การศึกษาความเพียงพอ ความขาดแคลน และความต้องการใช้สื่อการเรียน การสอน ของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. 1(2), 98 - 108.

ดาริณี ชำนาญหมอ. (2561). การสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ไทยเชิงอนุรักษ์ : ฉุยฉายธนบุรี. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 5(1), 69 - 77.

ดัชกรณ์ ตันเจริญ. (2554). เทคโนโลยีการตรวจจับการเคลื่อนไหวและการประยุกต์ใช้งาน. วารสารปัญญา ภิวัฒน์. 3(1), 113 - 122.

ทองพูล มุขรักษ์. (2565). ผลของการจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทยโดยใช้ชุดกิจกรรมออนไลน์ เรื่อง ระบำโบราณคดี. วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 12(1), 16 - 28.

เบญนภา พัฒนาพิภัทร. (2564). การพัฒนาภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ ด้วยเทคโนโลยีตรวจจับการเคลื่อนไหว สำหรับฝึกท่ามวยไทยพื้นฐาน. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 9(2), 52 - 63.

สุนันทา เกตุเหล็ก. (2561). การสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ไทยเชิงอนุรักษ์ : ฉุยฉายธนบุรี. วารสารศิลปกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 5(1), 69 - 77.

สุวิชัย พรรษา. (2561). การเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านการเรียนรู้แบบโครงงานวิชาเทคนิคการจับภาพเคลื่อนไหว. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 5(1), 21- 30.

อาทิตย์ สุดาบุตร. (2564). การสร้างสรรค์การแสดงชุดรำฉุยฉายรามาวตาร. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 13(2), 1 - 23.

Foheart Technology. (2022). FOHEART·X. Retrieved May 15, 2022, from http://foheart.com/ en/index.php/products/foheartx.html.

Motion Analysis. (2022). Motion capture for broadcast. Retrieved May 15, 2022, from https:// motionanalysis.com/broadcast.

Noitom. (2022). Perception Neuron Studio System. Retrieved May 15, 2022, from https:// neuronmocap.com/perception-neuron-studio-system.

Noiumkar, S. and Tirakoat, S. (2013). Use of optical motion capture in sports science: A case study of golf swing. In Proceedings of the 2013 International Conference on Informatics and Creative Multimedia, pp 310 - 313. https://ieeexplore.ieee.org/abstract/document/6702830.

Phunsa, S., Potisarn, N., Tirakoat, S. (2009). Edutainment-Thai Art of Self-Defense and Boxing by Motion Capture Technique. Proceeding of International Conference on Computer Modeling and Simulation; Feb 20th – 22nd, 2009. pp. 152 - 155. Macau, China.

Potisarn, W. and Potisarn, N. (2013). Developing Multimedia for Hearing-Impaired Children in Reum An-re, a Famous Folk Dancing of Surin Province. In proceeding of the First International Conference on Innovation in Education. May 13th - 15th, 2013. pp. 284 – 292. Mahidol University: Institute for Innovative Learning.