การพัฒนาตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการแปรรูปอาหารควบคุมด้วยระบบ Internet of Things (IoT) -

Main Article Content

อภิญญา สายศรีแก้ว อัษฎา วรรณกายนต์ อภิชัย ไพรสินธุ์ สุชาติ ดุมนิล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนา 2) ทดสอบประสิทธิภาพ และ 3) ประเมินคุณภาพตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการแปรรูปอาหารควบคุมด้วยระบบ Internet of Things (IoT) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ตารางทดสอบประสิทธิภาพ และ แบบประเมินคุณภาพ วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้พัฒนาตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ จากนั้นนำไปทดสอบประสิทธิภาพ ประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ และนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่            ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัย พบว่า


          1) ได้ตู้อบที่มีขนาด กว้าง 80 ยาว 120 และสูง 140 เซนติเมตร หลังคาทรงโค้งทำจากวัสดุใสแสงอาทิตย์ส่องผ่านได้ดี สามารถอบแห้งได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ อบเฉพาะแสงแดด อบเฉพาะหลอดไฟ และอบทั้ง 2 รูปแบบพร้อมกัน มีพัดลมดูดอากาศเพื่อลดความชื้น นำระบบ IoT เข้ามาใช้ในการตรวจวัด และควบคุมอุณหภูมิ รวมไปถึงมีแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อจ่ายพลังงานให้กับอุปกรณ์ต่างๆ


          2) ประสิทธิภาพของตู้อบ สามารถสรุปได้ 3 รูปแบบ ดังนี้ 2.1) ผลการทดสอบ (ที่ใช้เฉพาะแสงแดด)           มีค่าเฉลี่ยรวมของอุณหภูมิที่ 40 °C ความเข้มของแสงแดดที่ 421 (W/m2) และระยะเวลาที่ใช้ในการอบแห้ง           2 ชั่วโมง 2.2) ผลการทดสอบ (ที่ใช้เฉพาะหลอดไฟ) มีค่าเฉลี่ยรวมของอุณหภูมิที่ 40 °C มีค่าเฉลี่ยรวมของกระแส     1 A แรงดัน 220 V และวัตต์ 240 W และมีค่าเฉลี่ยระยะเวลาในการอบแห้ง 3 ชั่วโมง 2.3) ผลการทดสอบ (ที่ใช้ทั้ง 2 รูปแบบ) มีค่าเฉลี่ยรวมของอุณหภูมิที่ 40 °C มีค่าเฉลี่ยรวมของกระแส 1 A แรงดัน 220 V และวัตต์ 240 W      ความเข้มของแสงแดด 421 (W/m2) และค่าเฉลี่ยระยะเวลาในการอบแห้ง 1 ชั่วโมง


            3) คุณภาพของตู้อบในภาพรวม มีคุณภาพในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.78 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.26

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัญ คนแรง และคณะ. (2557). โครงการบูรณาการวิชาการแก่สังคมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนการวิจัยตู้อบ

สับประรดอบแห้งโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ของชุมชนนางแลจังหวัดเชียงราย โปรแกรมวิชาวิศวกรรม

พลังงานและเทคโนโลยีไฟฟ้า คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ไทยโพสต์. (2565). ประโยชน์ของ Internet of Things (IoT). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :

https://www.thaipost.net/main/detail/24835. สืบค้น 3 กรกฎาคม 2565.

ญาณกีรติ พลวิเศษ และคณะ. (2562). เครื่องอบสมุนไพรแบบอัตโนมัติด้วยไฟฟ้า.

วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาเทคโนโลยี การจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ไพโรจน์ เหลืองวงศกร. (2559). ระบบรักษาความปลอดภัยที่บานโดยใชESP8266 สารนิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตร์

มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศคณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

วินัยธร ไพเมือง. (2562). ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์อัจฉริยะสำหรับธุรกิจชุมชน. การประชุมวิชาการระดับชาติ

เครือข่ายวิจัยสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 13.

รัฐพงษ์ โป้เคน และ วิศิษศักดิ์ เสงี่ยมศักดิ์ (2563). ตู้อบกล้วยพลังงานแสงอาทิตย์.

วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. 6(1). 48-57.

สุดธิดา อินทผล อุปวิทย์ สุวคันธกุลและโอภาส สุขหวาน. (2551). การพัฒนาเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์.

วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา. 2(1). 71-81.

สุชาติ ดุมนิล อัษฎา วรรณกายนต์ และสุพิมพา วัฒนสังขโสภณ. (2562). เครื่องอบพลังงานโซล่าเซลล์ควบคุมด้วย

อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย

ราชภัฏสุรินทร์. 4(3). 30-38.

ศิริวรรณ อาจบำรุง. (2562). ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูง. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัย

ราชภัฏมหาสารคาม.

อนิรุทธิ์ ต่ายขาว และ สมบัติ ทีฆทรัพย์. (ม.ป.ป.). เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดพาความร้อน

แบบธรรมชาติ และชนิดพาความร้อนแบบบังคับ วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย

ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.