การประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนในการลดของเสียชิ้นงานตุ้มน้ำหนักปลายแฮนด์ รุ่น WH - 6400 กรณีศึกษา : อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ APPLICATION OF LEAN THINKING TO REDUCE WASTE OF WEIGHT HAND MODEL WH - 6400 CASE STUDY : AUTOMOTIVE INDUSTRY MANUFACTURING PARTS
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนในการลดปริมาณสินค้าคงคลังให้มีในระดับที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าและลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตตุ้มน้ำหนักปลายแฮนด์ รุ่น WH - 6400 การดำเนินงานเริ่มจากการศึกษาขั้นตอนกระบวนการผลิต ศึกษาข้อมูลปริมาณการผลิตปริมาณของเสีย ข้อมูลรายละเอียดของปัญหาที่ทำให้เกิดของเสีย โดยการสร้างแผนผังสายธารแห่งคุณค่าสถานะปัจจุบันรวบรวมข้อมูลและระบุตำแหน่งของปัญหา ซึ่งพบปัญหาที่ฝ่ายผลิตจากนั้นวิเคราะห์ปัญหาโดยแผนภูมิสาเหตุและปัญหา นำเทคนิคการผลิตแบบลีนประกอบด้วยหลักการระบบ Kanban การจัดการคลังสินค้าและศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาและลดความสูญเสียทั้ง 7 ประการ ผลการดำเนินงานพบว่าฝ่ายผลิตสามารถลดปริมาณของเสียปัญหาผิวลายลงจากเดิมร้อยละ 2.62 เหลือร้อยละ 1.16 พบว่าร้อยละปริมาณของเสียปัญหาผิวลายลดลงร้อยละ 1.46 หลังจากการใช้หลักการระบบ Kanban สามารถลดปริมาณการผลิตครั้งละมากๆ (Mass Production) ลด Lead Time ลงจาก 7 วัน เหลือ 4 วัน ลดปริมาณการเก็บผลิตภัณฑ์ไว้ในคลังสินค้าจากเดิม 16,261 ชิ้น เหลือ 360 ชิ้น ลดลงจากเดิมถึง 15,901 ชิ้น และลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิตลงจาก 162,610 บาท เหลือ 3,600 บาท ลดลง 159,010 บาท คิดเป็นร้อยละ 97.79
คำสำคัญ : ระบบการผลิตแบบลีน แผนผังสายธารแห่งคุณค่า สินค้าคงคลั
Article Details
References
ชนะชัย อุทวราพงศ์. (2551). การประยุกต์ใช้ระบบการผลิตแบบลีนในอุตสาหกรรมการออกแบบตามคำสั่งซื้อ.
วิทยานิพนธ์ วศ.ม. (วิศวกรรมอุตสาหการ). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิยาลัยเทคโนโลยีพระจอม
เกล้าธนบุรี.
ดวงรัตน์ ชีวปัญญาโรจน์ และศุภศักดิ์ พงษ์อนันต์. (2544). ความสูญเสีย 7 ประการ (7 Wastes) กรุงเทพฯ :
สถาบันเพิ่มผลผลลิตแห่งชาติ.
นภัสรพี ปัญญาธนวาณิช. (2560). “การประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนในการจัดซื้อ กรณีศึกษาอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์”. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนางานอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โยชิโนบุ นายาทานิ และคณะ. (2541). 7 New QC Tool เครื่องมือสู่คุณภาพยุคใหม่.
แปลโดย วิฑูรย์ สิมะโชคดี. พิมพ์ครั้งที่ 1 : กรุงเทพฯ,
เอกพล ทับพร. (2560). “การลดของเสียในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์โดยการประยุกต์ใช้
การออกแบบการทดลอง กรณีศึกษา บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์”.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต วิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.