การพัฒนาเครื่องตัดย่อยผักตบชวา สู่การใช้ประโยชน์ทางการเกษตร -
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนา 2) ทดสอบประสิทธิภาพ และ ประเมินคุณภาพเครื่องตัดย่อยผักตบชวา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ตารางทดสอบประสิทธิภาพ และแบบประเมินคุณภาพ ในการดำเนินการวิจัย คณะผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้แนวคิดกระบวนการเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาเครื่องตัดย่อยผักตบชวา จากนั้นนำไปทดสอบประสิทธิภาพการทำงาน และประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ ผลที่ได้จากการทดสอบประสิทธิภาพและการประเมินคุณภาพนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย
1) ผลการพัฒนา พบว่า ได้เครื่องจักรกลการเกษตรใช้ในการตัดย่อยเพื่อลดขนาดของผักตบชวาให้มีขนาดที่เล็กลง มีล้อสำหรับเคลื่อนย้าย ใช้เครื่องยนต์เบนซิน ขนาด 7.5 แรงม้าเป็นต้นกําลังในการขับชุดใบมีดจำนวน 6 ใบมีด ตัดเป็นมุมตามองศาที่กำหนดไว้ ได้แก่ มุม 30 องศา 45 องศา และ 60 องศา สามารถทำงานได้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมง
2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องตัดย่อยผักตบชวา ที่ใบมีดตัดเป็นมุม 45 องศา พบว่า สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ระยะเวลาเฉลี่ยในการตัดย่อยเท่ากับ 32.26 นาที น้ำหนักผักตบชวาที่ได้มีเฉลี่ยเท่ากับ 94.7 กิโลกรัม มีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยเท่ากับ 2.41 ลิตร และประสิทธิภาพการทำงานเครื่องสูงสุดเท่ากับ 1,515.60 กิโลกรัมต่อวัน โดยผักตบชวาที่ผ่านการตัดย่อยผักตบชวาให้มีขนาดเล็ก สามารถนำไปใช้ทำปุ๋ย ทั้งปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก ใช้ผสมทำเป็นอาหารสัตว์ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้หลายรูปแบบ
3) ผลการทดสอบคุณภาพเครื่องตัดย่อยผักตบชวาจากผู้เชี่ยวชาญในภาพรวม มีคุณภาพอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48
Article Details
References
กรมโยธาธิการเเละผังเมือง. (2565). ข้อมูลผักตบชวาเบื้องต้น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://onedptportal.dpt.go.th/portal/apps/Cascade/index.html?appid=d06d5cbe9f0f4ab8b042d3451c66978a. สืบค้น 23 มิถุนายน 2565.
ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง. (2565). ผักตบชวา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://clgc.agri.kps.ku.ac.th/resources/weed/eichornia.html. สืบค้น 23 มิถุนายน 2565.
ศุภฤกษ์ ดวงขวัญ จันทร์หอม แก่นพินิจ และปัททินี อุ่มทอง. (2565). การจัดการผักตบชวา.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://reo06.mnre.go.th/home/images/upload/file/
report/work2554/supareak01.pdf. สืบค้น 23 มิถุนายน 2565.
ผดุงดี เยี่ยมสวัสดิ์ และคณะ. (2554). คู่มือการกำจัดผักตบชวา. นครปฐม : สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 5.
วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตอาหารปลอดภัยและสมุนไพรพื้นบ้าน. (2565). วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตอาหาร
ปลอดภัยและสมุนไพรพื้นบ้าน เปลี่ยนผักตบชวาวัชพืชทางน้ำเป็นแหล่งมั่งคั่งของ
อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.eef.or.th/communities
/2563-beginning-120/. สืบค้น 16 กรกฎาคม 2565.
สาขาออกแบบเละเทคโนโลยี สสวท. (2565). กระบวนการเทคโนโลยี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://designtechnology.ipst.ac.th/?page_id=1094. สืบค้น 23 มิถุนายน 2565.
สิริรัตน์ วารีรำพึงเพลิน. (2565). กำจัด “ผักตบชวา” สู่การใช้ประโยชน์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://www.thailandindustry.com/onlinemag/view2.php?id=1235§ion=30
&issues=79. สืบค้น 16 กรกฎาคม 2565.
สุรสิทธิ์ ช่อวงศ์. (2553). การสร้างเครื่องสีข้าวกล้อง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.
(1) : 133-143.
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค). (2565). การกำจัดผักตบชวาโดยวิธีกล.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/webcontest2003/
team/dlbs085/interEx/informate/paktob/eradi_ma.html. สืบค้น 4 กันยายน 2565.
อธิรัช ลี้ตระกูล เที่ยงธรรม สิทธิจันทเสน นิคม ลนขุนทด และอัษฎา วรรณกายนต์. (2564). การพัฒนาเครื่อง
ทดสอบหาค่าอายุการใช้งานของตลับลูกปืนชนิด DGBB 6205 – 2Z. วารสารวิจัยและพัฒนา
วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 16(2) : 87-101.