การลดของเสียในกระบวนการผลิตข้าวตู ของกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

Main Article Content

ฉัตรพล พิมพา บัณฑิตา ภู่ทรัพย์มี โปณะทอง ศิวพร แน่นหนา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการและผลของการลดของเสียในกระบวนการผลิตข้าวตูของกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ผลของการผลิตพบว่ามีข้าวตูร้อยละ 6 ที่ผลิตแล้วมีขนาดไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ผู้วิจัยและกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรจึงได้ศึกษากระบวนการผลิต จากนั้นจึงใช้แผนภูมิก้างปลาในการวิเคราะห์หาสาเหตุและกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา วิธีการแก้ไขปัญหาที่ได้จากการศึกษากระบวนการคือ การสร้างเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิต ผลการทดสอบเครื่องจักรและอุปกรณ์ก่อนการนำไปใช้ในกระบวนการผลิตโดยการทดสอบสมมุติฐานพบว่าขนาดของข้าวตูที่ผลิตด้วยเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ออกแบบนั้นเป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด ผู้วิจัยจึงทำผลิตข้าวตูจำนวน 500 ชิ้นด้วยเครื่องจักรและอุปกรณ์ดังกล่าว ผลการผลิตพบว่าข้าวตูที่ผลิตโดยเครื่องจักรและอุปกรณ์ดังกล่าวมีขนาดตามมาตรฐานทุกชิ้น โดยสามารถลดของเสียจากกระบวนการผลิตได้ร้อยละ 6

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ansari, I. Z., Ferdous, Z., & Irfan, S. F. (2019). “Improving productivity by using extra mechanical automation on different sewing machine.” International Journal of Textile Science. 8(1), 26-30.

Gujar, S., & Shahare, D. A. S. (2018). “Increasing in Productivity by Using Work Study in a Manufacturing Industry.” International Research Journal of Engineering and Technology (IRJET). 5(5), 1982-1991.

Mahto, D. G., & Kumar, N. (2013). “Productivity improvement through process analysis for optimizing assembly line in packaging industries.” Global Journal of Researches in Engineering. 13(3). 1-17.

Memon, I. A., Jamali, Q. B., Jamali, A. S., Abbasi, M. K., Jamali, N. A., & Jamali, Z. H. (2019). “Defect reduction with the use of seven quality control tools for productivity improvement at an automobile company. Engineering.” Technology & Applied Science Research. 9(2), 4044-4047.

Montgomery, D. C. (2009). Design and analysis of experiment (7th ed.) John Wiley & Sons Ltd.

Montgomery, D. C. & Runger, G. C. (2011). Applied Statistics and Probability for Engineering (5th ed.). John Wiley & Son.

Prakash, A., Jha, S. K., Prasad, K. D., & Singh, A. K. (2017). “Productivity, quality and business performance: an empirical study.” International Journal of Productivity and Performance Management. 66(1), 78-91.

Sreekumar, M. D., Chhabra, M., & Yadav, R. (2018). “Productivity in manufacturing industries.” International Journal of Innovative Science and Research Technology, 3(10), 634-639.

กนกพร สุทธิพันธ์. (2561). หมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต. สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางบัวทอง.

ฉัตรพล พิมพา. (2565). “การหาสภาวะที่เหมาะสมของเครื่องจักรในกระบวนการผลิตมันเทศโดยการมีส่วนร่วมของ ชุมชนทับน้ำ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.” วารสารวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม. 15(1), 113-122.

ธนิตศักดิ์ พุฒิพัฒน์โฆษิต, อัสรียาภร สง่าอารีย์กุล, อภิชิต เสมศรี และปิยฉัตร นุตลักษณ. (2563). “การลดของเสียในกระบวนการผลิตอุปกรณ์โครงเหล็กคุ้มกันความปลอดภัยของรถยนต์.” วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.). 9(2), 45-54.

วิรลัพชัร พรหมจรรย์, ยุติฉัตรวรานนท์, นฐิตา หวังโซ๊ะ และภุชงค์ จันทร์จิระ. (2562). “การประยุกต์ใช้เครื่องมือคุณภาพสำหรับกระบวนการผลิตอิฐ.” วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา. 13(1), 81-92.

สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน. (2561). แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1. สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน.

สำนักงานจังหวัดนนทบุรี. (2561). บรรยายสรุปจังหวัดนนทบุรี ประจำปี พ.ศ 2561. สำนักงานจังหวัดนนทบุรี.