การพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเสริมศักยภาพวิสาหกิจชุมชนบ้านท่าก่อ จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้แนวคิดแบบอไจล์

Main Article Content

รัตน์ชฎาพร ศรีสุระ สุพัตรา วะยะลุน รัตนภรณ์ แซ่ลี้ วนษา สินจังหรีด
รัตน์ชฎาพร ศรีสุระ
รัตนภรณ์ แซ่ลี้
วนษา สินจังหรีด

บทคัดย่อ

ในสถานการณ์โควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและรายได้ที่ลดลงของประชาชนชาวไทย ดังนั้นสถาบันการศึกษาจึงมีบทบาทช่วยให้ความรู้แก่ชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพ บทความนี้ได้นำเสนอการเสริมศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนด้วยการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ของวิสาหกิจชุมชนบ้านท่าก่อ ตำบลนาจะหลวย อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับส่งเสริมศักยภาพวิสาหกิจชุมชนโดยใช้แนวคิดแบบอไจล์ 2) เพื่อศึกษาการยอมรับของผู้ใช้ระบบที่มีต่อแพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับส่งเสริมศักยภาพวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ศึกษาประสิทธิภาพของแพลตฟอร์ม ได้แก่ อาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบสารสนเทศ มีคุณวุฒิปริญญาโท หรือนักวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ระดับชำนาญการที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีประสบการณ์ 5 ปีขึ้นไป จำนวน 6 คน นักวิชาการหรือผู้ปฏิบัติงานของภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชุน จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 9 คน และ 2) กลุ่มผู้ทดลองใช้แพลตฟอร์ม จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกการประชุม 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อประสิทธิภาพของแพลตฟอร์มออนไลน์ และ 3) แบบสอบถามการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งานที่มีต่อแพลตฟอร์มออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัย พบว่าแพลตฟอร์มออนไลน์ของวิสาหกิจชุมชนบ้านท่าก่อ พัฒนาโดยใช้แนวคิดการพัฒนาระบบสารสนเทศตามแนวคิดอไจล์ (Agile) ด้วยกระบวนการสกรัม (Scrum) โดยมีการจัดกลุ่มสารสนเทศตามสินค้าและบริการ 8 กลุ่ม ได้แก่ ของฝาก ของที่ระลึก ผลไม้ อาหารตามฤดูกาล โปรแกรมการท่องเที่ยว หลักสูตรอบรมระยะสั้น องค์ความรู้และภูมิปัญญา โดยผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพของแพลตฟอร์มออนไลน์ ด้านเนื้อหา โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านระบบสารสนเทศ โดยรวม อยู่ในระดับมาก  ด้านโปรแกรม โดยรวม อยู่ในระดับมาก และด้านคู่มือการใช้งานระบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและผู้ทดลองใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์ มีการยอมรับเทคโนโลยีและนำไปใช้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

รัตน์ชฎาพร ศรีสุระ สุพัตรา วะยะลุน รัตนภรณ์ แซ่ลี้ วนษา สินจังหรีด, -

 

 

รัตน์ชฎาพร ศรีสุระ

 

 

 

 

รัตนภรณ์ แซ่ลี้

ชื่อ-นามสกุลดร.รัตนภรณ์ แซ่ลี้ ตำแหน่งงาน อาจารย์ประจำหลักสูตรการตลาด ตำแหน่งในโครงการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดออนไลน์และตลาดออฟไลน์ Email: Rattanaporn.s@ubru.ac.th

 

 

 

 

วนษา สินจังหรีด

 

 

References

จักรี ทำมาน และมานิตย์ อาษานอก. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศที่ส่งเสริมการยอมรับเทคโนโลยีตาม

แบบจำลอง TAM เพื่อการวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. 4(2). 22-23

ชนัญชิดา เลิศจะบก และจงกล จันทร์เรือง. (2563). การประยุกต์ใช้อไจล์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบนำเสนอ

หนังสือมีชีวิตดิจิทัล กรณีศึกษา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

ราชมงคลอีสาน. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11 “Global

Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2020” วันที่ 27 มีนาคม 2563

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สัณหภัค นิลสัย. (2560). การประยุกต์ใช้แนวคิดแบบอไจล์กับระบบติดตามและควบคุมความคืบหน้า. โครงการ.

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม

เกล้าพระนครเหนือ.

สุพัตรา วะยะลุน พงศกร พงษ์ปรีชา ศุภชัย งาหอม และศุภกิตติ์ หนองใหญ่. (2565). การพัฒนาระบบสารสนเทศ

พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปไม้โบราณ พระพรหมวชิรญาณ วัดอาม็อง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วารสารศิลปะ

และวัฒนะรรมลุ่มแม่น้ำมูล. 11(1). 20-23.

Charles Edeki. (2015). Agile Software Development Methodology. European Journal of

Mathematics and Computer Science. 2(1), pp. 22-27

Pusri, N.,&Kritworakarn, C. (2018). Applying Agile Project Management to Website Development.

(Extended Abstract). The 2nd Seminaron Industrial Engineering and Industrial

Management. 2018, July 16. Chiang Mai University.

Reinertsen, Donald. (2009). Principles of Product Development Flow: Second Generation Lean

Product Development. Celeritas Publishing.

S. Bhalerao & D. Puntambekar. (2009). Generalizing Agile Software Development Life Cycle.

International Journal on Computer Science and Engineering. 1(3), 222-226

Tavares, B. G., da Silva, C. E. S. and de Souza, A. D. (2019). Risk management analysis in Scrum

software projects. International Transactions in Operational Research. 26(5), pp 1884–