การพัฒนาประสิทธิภาพอุปกรณ์ต่อพ่วงรถไถแบบนั่งขับให้สามารถใช้ในการเกษตรแบบครบวงจรในชุดเดียวเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันเป็นผู้ประกอบการข้าวหอมมะลิและพืชไร่ จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

วัลลภ โคตรพันธ์ เดชณรงค์ วนสันเทียะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาประสิทธิภาพของอุปกรณ์ต่อพ่วงรถไถแบบนั่งขับให้สามารถใช้ในการเกษตรแบบครบวงจรในชุดเดียวเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันเป็นผู้ประกอบการข้าวหอมมะลิและพืชไร่ จังหวัดสุรินทร์  2) เพื่อหาประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง อัตราการหยอดเมล็ดพันธุ์ต่อไร่ และอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงของอุปกรณ์ฯ          ผลการศึกษามีดังนี้  การพัฒนาประสิทธิภาพเครื่องดังกล่าวมีส่วนประกอบ คือ เครื่องพรวนดินมีการทำงานได้โดยอาศัยการฉุดลากของรถแทรกเตอร์และการขับเพลาอำนวยกำลังจากรถแทรกเตอร์ผ่านไปยังเพลารับกำลัง หลังจากนั้นจะส่งกำลังต่อไปยังห้องเกียร์จะมีเพลาไปขับโซ่เพื่อที่จะส่งกำลังขับไปยังเพลาของใบมีดทำการย่อยดิน โดยมีระบบขับเคลื่อนที่เป็นห้องเกียร์ชิดเฟืองดอกจอกแบบฟันโค้ง อัตราทด 1.4 : 1 มีห้องโซ่ส่งผ่านกำลังด้านซ้าย มีความกว้าง 1.73 เมตร น้ำหนัก 260 กิโลกรัม มีใบมีดตีดินด้านซ้าย 24 ใบ ด้านขวา 24 ใบ ด้านการทำงานของเครื่องพ่นยาทำงานได้โดยอาศัยการฉุดลากของรถและการขับเพลาอำนวยกำลังจากรถแทรกเตอร์ผ่านไปยังสายพานเพื่อให้ลูกสูบดันน้ำออกไปที่หัวพ่น โดยมีแรงดัน 21-45 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร รอบการทำงาน 800-1200 รอบต่อนาที เปรียบเทียบต้นทุนในการปลูกข้าวเปรียบเทียบกับแบบดั้งเดิมกับแบบที่ใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงรถไถแบบนั่งขับให้สามารถใช้ในการเกษตรแบบครบวงจรในชุดเดียว นั้นจะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นคือ ต้นทุนค่าจ้างเหมาดำเนินการพรวนดินในพื้นที่ 1 ไร่เฉลี่ยอยู่ที่ 216.66 บาท ราคาต้นทุนค่าจ้างเหมาดำเนินการพ่นปุ๋ยหรือสารบำรุงดินในพื้นที่ 1 ไร่เฉลี่ยอยู่ที่ 193.33 บาท ราคาต้นทุนค่าจ้างเหมาดำเนินการใส่ปุ๋ยเมล็ดในพื้นที่ 1 ไร่เฉลี่ยอยู่ที่ 53.33 บาท และราคาต้นทุนค่าจ้างเหมาดำเนินการหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวในพื้นที่ 1 ไร่เฉลี่ยอยู่ที่ 240.00 บาท หากนำมารวมกันแล้วเป็นเงินมากถึง 703.32 บาท ส่วนต้นทุนค่าจ้างเหมาดำเนินการสูบน้ำเข้าแปลงนา ในพื้นที่ 1 ไร่เฉลี่ยอยู่ที่ 103.33 บาท

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. 2544. เอกสารคำแนะนำการปลูกพืชไร่ในเขตชลประทาน. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร

แห่งประเทศไทยจำกัด.

กฤษฎา นาโสก . (2552). วิถีชาวนาอีสานตอนล่าง : ศึกษากรณีชุมชนชาวนาบ้านตำแย ตำบล ม่วงสามสิบ

อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี. ภาคนิพนธ์ สาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฏ

อุบลราชธานี.

ยุทธนา เครือหาญพงค์และคณะ. (2556). เครื่องหยอดเมล็ดพืชหลังนาติดพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์.

สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาเกษตร.

ศูนย์ข้อมูลข้าวตลาดเฉพาะ. (2564). ข้าวหอมมะลิสุรินทร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : htps://www.thairicedb.com/ticedetail.php?id=6.สืบค้น 21 มิถุนายน 2562.

สุพรรณ์ นาคสังค์ และคณะ.(2560). ศึกษาและออกแบบพัฒนาเครื่องหยอดเมล็ดข้าวไร่แบบจานแนวตั้ง.

ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้ลาดกระบัง.