การตระหนักรู้ถึงภัยคุกคามและอาชญากรรมไซเบอร์ของผู้ใช้งาน ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในสถานศึกษา จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

วิทวัส สุขชีพ, จรัญ แสนราช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ได้ศึกษาพฤติกรรมการใช้งานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในสถานศึกษา จังหวัดสุรินทร์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสบการณ์เกี่ยวกับภัยคุกคามและอาชญากรรมไซเบอร์ ของผู้ใช้งานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในสถานศึกษา จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามและอาชญากรรมไซเบอร์ของผู้ใช้งานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในสถานศึกษา จังหวัดสุรินทร์ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความตระหนักรู้ด้านภัยคุกคามและอาชญากรรมไซเบอร์ของผู้ใช้งานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในสถานศึกษา จังหวัดสุรินทร์ โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ประชากร ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา ศิษย์เก่า ครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และผู้บริหารสถานศึกษา โดยมีขนาดตัวอย่าง 400 คน และใช้การสุ่มตัวอยางแบบชั้นภูมิและสุ่มอย่างง่ายเพื่อให้ได้จำนวนกลุ่มตัวอยางตามสัดส่วนของขนาดกลุ่มประชากร


          ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้งานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในสถานศึกษา จังหวัดสุรินทร์ มีประสบการณ์เกี่ยวกับภัยคุกคามและอาชญากรรมทางไซเบอร์อยู่ในระดับน้อย (ร้อยละ 79.00) และมีความรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามและอาชญากรรมทางไซเบอร์อยู่ในระดับน้อย (ร้อยละ 91.75) และมีความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามและอาชญากรรมทางไซเบอร์ในระดับมากที่สุด (  =4.55, SD.=0.68) เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า อายุ และประสบการณ์ทำงานที่ต่างกันจะมีระดับความตระหนักรู้ด้านถึงภัยคุกคามและอาชญากรรมไซเบอร์ที่แตกต่างกัน และผู้ใช้งานที่มีประสบการณ์    และมีความรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามและอาชญากรรมไซเบอร์ในระดับมากจะมีความตระหนักถึงภัยคุกคามและอาชญากรรมไซเบอร์ในระดับมากเช่นกัน โดยผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมเพื่อป้องกันภัยคุกคามและอาชญากรรมไซเบอร์ที่สอดคล้องเหมาะสมกับปัจจุบัน ตามรูปแบบการใช้อินเทอร์เน็ต
ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเพื่อให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในสถานศึกษารู้เท่าทันและป้องกันตนเองได้ก่อนที่จะเกิดความไม่ปลอดภัยกับชีวิตและทรัพย์สินจากภัยและอาชญากรรมไซเบอร์ต่อไป


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุกุลวดี ราชภักดี. (2545). ความตระหนักและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของนักศึกษา

ในหอพักสถาบันอุดมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร . สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร

ลาดกระบัง. กรุงเทพฯ.

ชฎาภรณ์ สิงห์แก้ว. (2564). บทบาทภาครัฐในการป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและ

สังคม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอิสเทิร์น. 18(1), น. 9-10.

ชิษณุพงศ์ ธนูทอง. (2557). การพัฒนาการรักษาความมั่นคงในระบบเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐมหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ด้วย SPSS. กรุงเทพมหานคร: วีอินเตอร์

พริ้นทร์ กรุงเทพมหานคร.

เมธาพร ธรรมศิริ และศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2565). ความตระหนักรู้ด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ของบุคลากร

ในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ. 3(2). หน้า 7.

วาสนา อุทัยแสง. (2559). การตระหนักรับรู้การบริหารความเสี่ยง และการนำการบริหารความเสี่ยงไปปฏิบัติของ

บุคลากรมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุธาเทพ รุณเรศ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตระหนักถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใน

กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชานโยบายและการบริหาร

เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3d ed. New York: John Wiley and Sons Inc.

Marketing Oops. (2018). Cyber Security Archives. [Online]. Available : https://www.marketingoops.com/tag/cyber-security/.Retrieved December 10, 2022.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. (2nd ed.). New York: McGraw Hill Inc.