ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำโขงต่อสภาพน้ำเท้อในลำน้ำเลย

Main Article Content

ศักดิ์ชาย พวงจันทร์ จุไรรัตน์ อาจแก้ว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของระดับน้ำในแม่น้ำโขงต่อสภาพน้ำเท้อในแม่น้ำเลยในช่วงน้ำหลาก โดยการสร้างแบบจำลองอุทกพลศาสตร์ด้วยโปรแกรม HEC-RAS แบบจำลองนี้วิเคราะห์การไหล 1 มิติ แบบ subcritical flow สามารถวิเคราะห์ได้ทั้งการไหลคงตัวและการไหลไม่คงตัว มีเงื่อนไขขอบเขตเหนือน้ำอยู่ที่สถานี Kh.58A กม. 81+100 บริเวณสะพานบ้านฟากเลย และมีเงื่อนไขขอบเขตท้ายน้ำอยู่ที่ปากน้ำเลยบรรจบแม่น้ำโขงที่บ้านคกมาด อำเภอเชียงคาน ที่กม. 0+500 รวมความยาวลำน้ำ 80.6 กม. จำนวน 807 หน้าตัด ข้อมูลด้านชลศาสตร์ที่ใช้เป็นข้อมูลระดับน้ำรายชั่วโมง ในช่วงปี พ.ศ. 2556-2559 โดยเลือกช่วงเวลาที่ระดับน้ำโขงขึ้นสูงและมีคลื่นน้ำหลากในแม่น้ำเลย รวมทั้งเก็บข้อมูลระดับน้ำรายชั่วโมงที่สะพานบ้านกลางมาใช้ในการประเมินแบบจำลอง มาทั้งสิ้น 5 ชุดข้อมูล การปรับเทียบแบบจำลองทำได้โดยปรับค่า Manning’s n ของลำน้ำ โดยการลองผิดลองถูก แล้วนำแบบจำลองมาวิเคราะห์ผลเป็นค่าระดับน้ำที่สะพานบ้านกลาง เพื่อเปรียบเทียบกับค่าที่วัดได้จริง แล้วประเมินความคลาดเคลื่อนด้วยค่า RMSE เพื่อหาค่า n ที่ให้ค่า RMSE น้อยที่สุด โดยใช้ชุดข้อมูลการไหล 2 ชุด ในปี 2556 และ 2557 พบว่าค่า n เฉลี่ยเท่ากับ 0.040 จากนั้นจึงสอบทานแบบจำลองด้วยค่า n ดังกล่าว โดยใช้ชุดข้อมูล 3 ชุด ของปี 2557 2558 2559 พบว่าค่า RMSE เฉลี่ยเท่ากับ 0.145 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เฉลี่ย 0.879
ผลการศึกษาสภาพน้ำเท้อโดยใช้แบบจำลองวิเคราะห์สถานการณ์จำลอง 12 ชุด ที่มีระดับน้ำโขงและปริมาณน้ำในแม่น้ำเลยที่แตกต่างกัน พบว่า ระดับน้ำในแม่น้ำโขงในระดับที่ไม่เกิน 209 ม.รทก. ส่งผลต่อระดับน้ำเท้อในแม่น้ำเลยไปทางเหนือน้ำถึงแค่กม.ที่ 16 บริเวณบ้านกลาง ระดับน้ำโขงในระดับสูงมาก 212 ม.รทก. จะมีผลต่อระดับน้ำเท้อไปถึงกม.ที่ 21 บริเวณบ้านแก่งมี้เท่านั้น ในกรณีระดับน้ำโขงสูงถึง 212 ม.รทก. ต้องมีปริมาณการไหลในน้ำเลยถึง 600 cms ขึ้นไปจึงจะเกิดภาวะน้ำล้นตลิ่งที่ระดับ 214 ม.รทก. ที่บ้านกลาง และระดับน้ำที่บ้านหาดทรายขาว กม. 27+950 จะไม่ได้รับผลกระทบจากระดับของแม่น้ำโขงเลย


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรชัย ทองปอนด์. (2547). การแสดงผลแบบจำลองอุทกพลศาสตร์ด้วยระบบภูมิสารสนเทศ (พื้นที่ศึกษา: ลุ่มน้ำคลองสวนหมาก อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชัยยุทธ ชิณะราศรี. (2550). กลศาสตร์แม่น้ำและกระบวนการธารน้ำ. กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

บุษปกร ขันติธีระกวี. (2555). การประยุกต์แบบจำลอง HEC-RAS เพื่อการจัดการน้ำท่วมในลุ่มน้ำน่านส่วนบน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประเสริฐ ล่ำภากร. (2553). การจำลองการบริหารจัดการอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงและลุ่มน้ำวัง ด้วยแบบจำลอง อินโฟเวิร์ค อาร์ เอส. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พรเทพ จูฑังคะ. (2547). การประเมินสมรรถนะระบบระบายน้ำของโครงการแก้มลิงคลองมหาชัย-คลองสนามชัย โดยแบบจำลอง MIKE11. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิษุวัฒก์ แต้สมบัติ. (2552). การศึกษาการบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำเลยด้วยแบบจำลองระบบลุ่มน้ำ. วิศวกรรมแหล่งน้ำแแห่งชาติครั้งที่ 3. กรุงเทพ ฯ : วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย.

สุภัทร์ สายรัตนอินทร์. (2553). การจำลองการไหลในลำน้ำและที่ราบน้ำท่วมถึงโดยใช้ซอฟท์แวร์ HEC-RAS: กรณีศึกษาแม่น้ำแม่ลาว จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ดุษฏีบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. (2564). 22 ลุ่มน้ำในประเทศไทยและพระราชกฤษฎีกากำหนดลุ่มน้ำ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ : สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ.

Abazi Elona. (2016). Calibration of Hydraulic Model for Buna River. Journal of International Environmental Application & Science. 2 : Vol. 11.

Brunner, Gary W. (2010). HEC-RAS River Ananlysis System User's Manual Version 4.1. Davis : US Army Corps of Engineers, Institute for Water Resources, 2010.

International Rivers. (2012). Lancang River Dams: threatening the flow of the lower Mekong.[ONLINE]./AvailableURL:/https://www.internationalrivers.org/sites/default/files/attached-files/ir_lacang_dams_2013_5.pdf

International Rivers. (2019). Tragic Trade-offs: The MRC Council Study and The Impacts of Hydropower Development on the Mekong. [ONLINE]./AvailableURL:/ https://www.internationalrivers.org/wp-content/uploads/sites/86/2020/05/factsheet_mrc_council_study_-_english-proof_5.pdf

Kennedy EJ. Techniques of water-resources investigations of the U.S. Geological Survey (Discharge ratings at gaging stations; chap A10). Washington; 1984.

Melong River Commission. (2012). The Impact & Management of Floods & Droughts in the Lower Mekong Basin & The Implications of Possible Climate Change [Report]. - Vientiane : Mekong River Commission.

Methods, H., et al. (2003). Floodplain Modeling Using HEC-RAS. s.l. : Haestad Methods.

Patsinghasanee Supapap, Jarusdumrongnit Boonjong and Chitprom Phaitoon. (2011). Flood Forecasting System in Tapi River Basin. The 6th PSU-Engineering Conference. Songkla : Prince of Songkla University.

Phuangjan S., (2014). Loei River Basin Floodplain modelling using HEC-RAS. Journal of Science and Technology Mahasarakham University. 33(6). 571-577.

Visutimeteegorn, Sutham, et al. (2006). New Operation of Chao Phraya Dam for the Upstream Flood Mitigation. Sabah : SANREM, 2006.

Wangpimool W. Integrated hydrologic and hydrodynamic model for flood risk assessment in Nam Loei basin, Thailand. Proceedings of the 1st EIT International conference on water resources engineering; 2011 Aug 18–19; Pettchaburee, Thailand; 2011. p.117-27.