การพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ในการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์จากธรรมชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้ ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ในการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์จากธรรมชาติ 2) ถ่ายทอดเทคโนโลยี และ 3) ประเมินความพึงพอใจ ประชากรเป้าหมาย ได้แก่ เกษตรกรในพื้นที่ตำบลตาคง อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 1,120 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ สื่อเพื่อการเรียนรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจ คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการพัฒนาสื่อ และใช้สื่อในการถ่ายทอดเทคโนโลยี แบบกลุ่ม ด้วยวิธีการฝึกอบรม เริ่มด้วยการบรรยายให้ความรู้ สาธิตการทำให้ดู และให้ประชากรเป้าหมายลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง จากนั้นประเมินความพึงพอใจในการถ่ายทอดเทคโนโลยี สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้สื่อเพื่อการเรียนรู้ ที่ใช้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี ประกอบไปด้วย ใบปลิว, แผ่นพับ และสื่อนำเสนอด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint ใช้ในการนำเสนอและทบทวนความรู้ในการทำ หัวเชื้อจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ที่มีความหลากหลาย สื่อความหมายและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย 2) ได้รับความรู้ ความเข้าใจ รวมไปถึงการลงมือปฏิบัติในการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์จากวัสดุธรรมชาติ ที่สามารถนำไปใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตฮอร์โมน, ปุ๋ยอินทรีย์, สารไล่แมลง, สารกำจัดกลิ่น และสารกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการช่วยให้เกษตรกรลดการใช้ ลดต้นทุนด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตร ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ไม่มีสารเคมีตกค้าง อีกทั้งยังทำให้กระบวนการผลิต และผลผลิตที่ได้เกิดความปลอดภัย ส่งผลดีต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรในภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.54 , SD.= 0.50) โดยมีผู้ตอบแบบประเมินทั้งสิ้น 997 คน (ร้อยละ 89.02)
Article Details
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2556). คู่มือปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร การถ่ายทอด
เทคโนโลยีการเกษตร. นนทบุรี : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. (2562). หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี
อุตสาหกรรม หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2562. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
ชัยมงคล จันทร์สุข. (20 ก.พ. 2564). นายองค์การบริหารส่วนตำบลตาคง อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. สัมภาษณ์.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2549). การวิจัยและวิเคราะห์ทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 5.
กรุงเทพมหานคร : วี.อินเตอร์ พริ้นท์.
ดารารัตน์ แก้ววานิช และคณะ. (2556). การพัฒนาสื่อที่เหมาะสมในการถ่ายทอดเทคโนโลยี
การผลิตข้าวปลอดภัยสําหรับชาวนาตําบลบ้านกร่าง อําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก.
การประชุมวิชาการแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน
ครั้งที่ 10. 6–7 ธันวาคม 2556; นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขตกำแพงแสน; หน้า 2,937-2,981.
พิณรัตน์ นุชโพธิ์. (2563). เกษตรแบบธรรมชาติ ด้วยจุลินทรีย์จากธรรมชาติเบญจคุณ กรณีศึกษา :ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริบ้านวัดใหม่ หมู่ที่ 3 ตำบลบึงสามัคคี อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2(1): 89-103.
บุหลัน กุลวิจิตร. (2560). สื่อบุคคลกับการส่งเสริมการเกษตร 4.0. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian
มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 10(3): 2,440-2,454.
สุรวัฒน์ ชลอสันติสกุล และจารุณี เกษรพิกุล. (2562) ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมการส่งเสริมการเลี้ยงและการจัดการสุขภาพไก่อินทรีย์ ณ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 50(1): 432-436.
สุมาลี จันทร์ชะลอ. (2542). การวัดและประเมินผล. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์สื่อส่งเสริมกรุงเทพ.
อุทิศ ทาหอม สำราญ ธุระตา และคเนศ วงษา. (2562). การพัฒนาศักยภาพเกษตรกรแบบมีส่วนร่วม โดยการประยุกต์ใช้หลักเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ชุมชนบ้านคูขาด ตำบลสตึก
อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารพัฒนาสังคม, 21(2): 1-27.
อุมาพร บ่อพิมาย (2563). ระบบเทคโนโลยีอัจฉริยะเกษตรอินทรีย์.
วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(11): 63-78.
อัษฎา วรรณกายนต์ นิคม ลนขุนทด สุรเชษฐ วงศชัยประทุม และสุชาติ ดุมนิล. (2563). การถายทอดเทคโนโลยีคิวอารโคด สำหรับขอมูลผลิตภัณฑสินคาชุมชน ประเภทผักอินทรีย์. การประชุมวิชาการระดับชาติ “ราชมงคลสุรินทร ครั้งที่ 11”. 17-18 กันยายน 2563; สุรินทร์: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์; หน้า H58- H66.
อัษฎา วรรณกายนต์ นิคม ลนขุนทด สุชาติ ดุมนิล และอภิชัย ไพรสินธุ์. (2565).
การพัฒนาสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์งานวิจัย ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยการใช้เฟสบุ๊ค.
วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(12): 60-76.
McGriff, S.J. (2000). Instructional System Design (ISD) : Using the ADDIE
Model. Instructional Systems, College of Education,
Penn State University, 2000.