การจัดเก็บข้อมูลพระพุทธรูปโบราณ ในรูปแบบวัตถุเสมือนจริง 3 มิติด้วยเทคนิคโฟโตแกรมเมทรีเพื่อการอนุรักษ์

Main Article Content

ยุทธศักดิ์ ทองแสน
รัตนโชติ เทียนมงคล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความนี้เสนอวิธีการจัดเก็บข้อมูลพระพุทธรูปโบราณในรูปแบบวัตถุเสมือนจริง 3 มิติด้วยเทคนิคโฟโตกราเมตทรี
เพื่อการอนุรักษ์ โดยการสร้างวัตถุเสมือนจริง 3 มิติ ของพระพุทธโบราณด้วยภาพถ่ายดิจิตอล ดำเนินงานภายใต้โครงสร้างและหลักการทำงานด้วยภาพถ่ายด้วยกล้องดิจิตอลในระยะต่าง ๆ โดยใช้เลนส์ความยาวโฟกัสคงที่ ขนาด 30 มิลลิเมตร ความละเอียดของภาพ 24 ล้านจุดภาพ ทำการตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม Adobe lightroom แล้วนำภาพถ่ายที่ได้มาประมวลผลเพื่อสร้างแบบจำลอง 3 มิติ ด้วยโปรแกรม reality capture บนระบบปฏิบัติการวินโดว์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลภาพเฉพาะทางและหน่วยความจำสำรองที่รองรับการประมวลผลภาพ 3 มิติ ซึ่งผู้เขียนใช้วิธีการคัดเลือกพระพุทธรูปโบราณ พุทธศิลป์ล้านช้างแบบเจาะจงเพื่อเป็นต้นแบบสำหรับสร้างชุดข้อมูลรูปภาพ โดยกำหนดพื้นที่ที่ใช้ในการถ่ายภาพ 2 พื้นที่ คือ บริเวณพื้นที่กลางแจ้งเพื่อใช้แสงแดดให้เป็นแหล่งกำเนิดแสงตามธรรมชาติและพื้นที่ในร่มที่มีแสงน้อยและใช้ไฟสตูดิโอแบบต่อเนื่องในอัตราแสงขาวให้เป็นแหล่งกำเนิดแสงสว่าง เพื่อทำการเปรียบเทียบคุณภาพของภาพถ่ายที่ได้ โดยการถ่ายภาพจะต้องมีความคมชัดทั่วทั้งภาพมุมมองของรูปภาพจะต้องมีทั้งหมด 3 ระดับคือ 1)ระดับล่าง 2)ระดับกลาง และ 3)ระดับบน เพื่อทำให้มีจุดเชื่อมระหว่างรูปภาพที่สามารถเชื่อมโยงซึ่งกันและกันได้  ผลจากการสร้างแบบจำลอง 3 มิติ เมื่อทำการประมวลผลภาพด้วยเทคนิคโฟโตแกรมเมทรี ด้วยโปรแกรม reality capture ผลปรากฏว่าวัตถุเสมือนจริง 3 มิติ ที่ได้จากชุดข้อมูลรูปภาพที่ถ่ายกลางแจ้งในปริมาณแสงที่เพียงพอ จะได้คุณภาพของวัตถุเสมือนจริง 3 มิติ มากกว่าในพื้นที่ที่มีแสงน้อยซึ่งในสถานที่แสงสว่างน้อยจะเกิดจุดรบกวน (Noise) บนรูปภาพทำให้โปรแกรม reality capture คำนวณภาพวัตถุเสมือนจริง 3 มิติ ออกมาได้ไม่สมบูรณ์ ฉะนั้นการจัดเก็บข้อมูลพระพุทธรูปโบราณในรูปแบบวัตถุเสมือนจริง 3 มิติ ด้วยเทคนิคโฟโตแกรมเมทรีเพื่อการอนุรักษ์ จะต้องได้ชุดข้อมูลรูปภาพที่มีความชัดเจนและไม่มีจุดรบกวนบนรูปภาพเพื่อทำการประมวลผลให้ได้วัตถุเสมือนจริง 3 มิติที่มีความสมบูรณ์ใกล้เคียงกับต้นแบบมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ และ สาริกา ไสวงาม.(2562) .ปรัชญา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของ

อาณาจักรล้านช้าง. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระมหาสมเจต สมจารี หลวงกัน. (2559). พระพุทธรูป : สัญลักษณ์แห่งศรัทธาที่มีต่อพระพุทธเจ้า.วารสาร

ศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 4(1) 94-111.

พระอธิวัฒน์ รตนวญฺโณและคณะ. (2562) .วิเคราะห์พุทธสุนทรียศาสตร์ ในพระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง.

วารสารธรรมวิชญ์. 2(2) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วิทยาเขตเชียงใหม่.

พงษ์พิพัฒน์ สายทอง. (2561). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีฐานรากแนวสร้างสรรค์นิยมเพื่อสร้างมโนทัศนศิลป์ในการออกแบบตัวละครสัตว์หิมพานต์สำหรับงานแอนิเมชัน. Veridian E-Journal Science and Technology Silpakorn University.11(3), 914-928.

วิจิตร วินทะไชย. (2560). รูปแบบทางศิลปะของพุทธปฏิมากรรมสำริดศิลปะล้านช้างในอีสาน. Journal of Fine

and Applied Arts Khon Kaen University 9 (1): 341–64ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2564). พระพุทธรูปในประเทศไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.finearts.go.th/storage/contents/ 2021/06/detail_ file/NmOBH5KF1

AeeHHciRPQPP3ShJYoTWFDy2gZaUU9I.pdf. สืบค้น 19 มกราคม 2565.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2565). พระพุทธรูปสำคัญและพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ในประเทศไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :

https://www.finearts.go.th/storage/contents/2022/07/detail_file/G38qf9I3ar5aK4m9HllLkyPOKGUdsLYFQ2ndSZZJ.pdf. สืบค้น 19 มกราคม 2565.

สมเกียรติ โล่ห์เพชรัตน์. (2543). ประวัติศาสตร์การสร้างพระพุทธรูปล้านช้าง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์สยาม

อินเตอร์บุ๊คส์.

สุชาติ แสนพิช. (2566). สร้างโมเดล สามมิติเทคนิคโฟโตแกรมเมทรีด้วยโปรแกรม RealityCapture.

พิมพ์ครั้งที่1. ปทุมธานี :สำนักพิมพ์วีอาร์สยามเมตาแล็บ.

สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรร . (2551) . คู่มือการจัดทำทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.finearts.go.th/storage/contents/

detail_file/1WsWxgESixfCL5TxmNZa1oY1SZL8OGcIcUfPIJKC.pdf.สืบค้น 19 มกราคม 2565.

อภิวัฒน์ ปันทะธง และ จิรวัฒน์ สุขแก้ว.(2565) การสร้างสื่อดิจิทัลแบบจำลองสามมิติพระพุทธรูปหินทรายสกุล

ช่างพะเยา ภายในหอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา. มหาวิทยาลัยพะเยา.

วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 7(8) : 504 – 520.

Anette Eltner and Giulia Sofia. (2020). “Chapter 1 - Structure from motion photogrammetric

technique.” Developments in Earth Surface Processes. Volume 23, 2020, Pages 1-24.

Christophe Helmke et al. ( 2022). "All that is old is new again: Epigraphic applications of photogrammetry in ancient Mesoamerica." Digital Applications in Archaeology and Cultural Heritage. [Online]. Available : e00214.https://doi.org/10.1016/j.daach.2022. e00214.

Retrieved 25 June 2022.

Connor Elkhill et al. (2023). "Geometric learning and statistical modeling for surgical outcomes

evaluation in craniosynostosis using 3D photogrammetry." Computer Methods and Programs in Biomedicine. [Online]. Available : https://doi.org/10.1016/j. cmpb.

107689. Retrieved 25 June 2023.

Dai, Fei, and Wei Bing Peng. (2013). “Reality Capture in Construction Engineering Applications Using Close-Range Photogrammetry.” Applied Mechanics and Materials. 353–356 (August): 2795–98.

Denmark, Evan L. (2020). “A Technical Analysis of Photogrammetry with Reality Capture.” Massachusetts Institute of Technology. [Online]. Available : https://dspace.mit.

edu/handle/1721.1/129202?show=full?show=full. Retrieved 25 June 2023.

Elkhill, Connor, Jiawei Liu, Marius George Linguraru, Scott LeBeau, David Khechoyan, Brooke French, and Antonio R. Porras. (2023). “Geometric Learning and Statistical Modeling for Surgical Outcomes Evaluation in Craniosynostosis Using 3D Photogrammetry.” Computer Methods and Programs in Biomedicine, June, 107689.

Redweik, Paula. (2013). “Photogrammetry.” In Sciences of Geodesy - II: Innovations and Future Developments, edited by Guochang Xu, 133–83. Berlin, Heidelberg: Springer Berlin Heidelberg.

Uwe Stilla and Yusheng Xu."Change detection of urban objects using 3D point clouds: A review."

ISPRS Journal of Photogrammetry and Remote Sensing. Volume 197, Pages 228-255. [Online]. Available : https://doi.org/10.1016/j.isprsjprs.2023.01.010. Retrieved March 2023.