การพัฒนาประสิทธิภาพเครื่องสับย่อยพร้อมอัดแท่งหญ้าเนเปียร์ ที่เหมาะสมต่อการขนย้าย และยืดอายุหญ้าเนเปียร์ สำหรับผู้ประกอบการ วิสาหกิจเกษตรกรโคเนื้อจังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

ศุภชัย แก้วจันทร์
สุมณฑา จีระมะกร
ขนิษฐา สีมา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนาประสิทธิภาพเครื่องสับย่อยพร้อมอัดแท่งหญ้าเนเปียร์ ที่เหมาะสมต่อการขนย้ายและยืดอายุหญ้าเนเปียร์ สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจเกษตรกรโคเนื้อ จังหวัดสุรินทร์  ในครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพเครื่องสับย่อยพร้อมอัดแท่งหญ้าเนเปียร์และถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องสับย่อยพร้อมอัดแท่งหญ้าเนเปียร์ ที่เหมาะสมให้กับให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจเกษตรกรโคเนื้อ ตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระจังหวัดสุรินทร์ วิธีการดำเนินการวิจัยได้จัดทำคู่มือใช้ประกอบการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยมีความรู้เกี่ยวกับ ข้อมูลเบื้องต้นหลักการใช้เทคโนโลยี ขั้นตอนการใช้งานอย่างถูกต้องปลอดภัยรวม การดูแลรักษาและการซ่อมบำรุงรักษา และประเมินผลการยอมรับเทคโนโลยี การส่งมอบเทคโนโลยีเพื่อไปพัฒนาอาชีพ และเป็นต้ นแบบแหล่งเรียนรู้


          จากการทดสอบพบว่าในการทำงานที่ดีที่สุดของเครื่องสับย่อยพร้อมอัดแท่งหญ้าเนเปียร์ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ความเร็วรอบมอเตอร์ 2,900 รอบต่อนาที ผ่านชุดลำเลียงหญ้าเนเปียร์ ที่ความเร็ว 725 รอบต่อนาที  องศาใบมีด 30 องศา สามารถสับหญ้าเนเปียร์ ได้ 500 กิโลกรัมต่อชั่วโมง มีขนาดความยาวของหญ้าเนเปียร์เฉลี่ย 2-3 เซนติเมตร สามารถอัดเป็นแท่งทรงกระบอกได้ 270 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ที่ขนาดก้อนหญ้ารูปทรงกระบอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 152 มิลลิเมตร มีความเหมาะสมสำหรับการขนย้ายและรักษาความชื้นในหญ้าเนเปียร์เก็บรักษาเพื่อเป็นหญ้าหมักใช้เป็นอาหารสัตว์เนื่องจากขนาดความยาวของหญ้าเนเปียร์หลังการสับที่มีความละเอียด 2-3 เซนติเมตร เป็นขนาดที่สามารถคบเคี้ยวได้และหญ้าที่อัดเป็นก้อนทรงกระบอก มามัดปากถุงหรือซีลให้แน่นเพื่อป้องกันน้ำและอากาศเข้า และนำไปหมักเก็บไว้ 3-4 สัปดาห์ หญ้าจะกลายเป็นหญ้าหมักเป็นอาหารสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องได้


          ผลการประเมินการยอมรับเทคโนโลยี ที่มีต่อกระบวนการขั้นตอนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องสับย่อยพร้อมอัดแท่งหญ้าเนเปียร์ ที่เหมาะสมต่อการขนย้ายและยืดอายุหญ้าเนเปียร์ สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจเกษตรกรโคเนื้อ จังหวัดสุรินทร์ พบว่า ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมยอมรับเทคโนโลยี จำนวน 50 คน มีความพึงพอใจและยอนรับเทคโนโลยี โดยมีภาพรวมเฉลี่ยร้อยละ 88 และมีผลการประเมินตนเองด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีเครื่องสับย่อยพร้อมอัดแท่งหญ้าเนเปียร์ ร้อยละ 86.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2563). พืชอาหารสัตว์. กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์.

กรุงเทพมหานคร : สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

ปรีชา ศิริสม. (2562).การถ่ายทอดนวัตกรรมและส่งเสริมพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนต้นแบบผลิตอาหารโคเนื้อ

ครบวงจรแบบพึ่งพาตนเองเชิงบูรณาการในจังหวัดนครพนม.คณะเกษตรและเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยนครพนม.

ณพล เหลืองพิพัฒน์สร. (2561). การพัฒนาเครื่องย่อยและอัดหญ้าอาหารสัตว์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

ราชมงคลธัญบุรี.

รุ่งเรือง กาลศิริศิลป. (2562). การออกแบบและสร้างเครื่องย่อยและอัดหญ้าอาหารสัตว์สำหรับเกษตรกรรายย่อย.

ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วุฒิลากรณ์ หันทยุง. (2561). กลยุทธ์การเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรและการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร

ในรูปแบบใหม่. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

เสมอใจ บุรีนอก และคณะ. (2562). ผลของเชื้อแบคทีเรียกรดแลคติกที่คัดเลือกจากนํ้าพืชหมักต่อการกินได้การ

ย่อยได้ผลผลิตองค์ประกอบของนํ้านมในแพะนม. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปะศาสตร มหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

ห้างหุ้นส่วนจำกัด พายุ. (2565). เครื่องสับย่อยกิ่งไม้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/spHSD.

สืบค้น 27 พฤษภาคม 2565.

หญ้าเนเปียร์. (2565). หญ้าเนเปียร์คืออะไรจึงนิยมปลูก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.sgethai.com/article. สืบค้น 27 พฤษภาคม 2565.