การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันออกแบบลวดลายสำหรับการสานพัดไม้ไผ่

Main Article Content

ณัชภัค ผลถวิล
ปิยะพงษ์ แดงขำ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการสร้างเว็บแอปพลิเคชันสำหรับออบแบบลวดลายพัดสานไม้ไผ่ เนื่องจากผู้ใช้งานมีความต้องการที่จะออกแบบลวดลายพัดสาน แต่ไม่สามารถออกแบบและสานพัดตามที่ต้องการได้ ผู้วิจัยได้พัฒนาในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชันเพื่อช่วยผู้ที่มีความสนใจในการออกแบบพัดสานไม้ไผ่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดความยุ่งยากและประหยัดเวลาในการออกแบบ รวมไปถึงแสดงวิธีการทำพัดสานไม้ไผ่ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน แอปพลิเคชันนี้จึงถูกออกแบบหน้าจอผู้ใช้งานให้มีขั้นตอน 1) เลือกลายพื้นหลัง 2) เลือกภาพสัญลักษณ์ 3) ระบุข้อความ และ 4) แสดงขั้นตอนการสาน ผลการประเมินประสิทธิภาพของเว็บแอปพลิเคชันจากผู้ใช้งาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x = 4.39, S.D. = 0.58)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชุติมา งามพิพัฒน์. (2565). การศึกษาและพัฒนาลวดลายเครื่องจักสานภาคกลาง สำหรับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับร่วมสมัย . วารสารดีไซน์เอคโค. 3(2), 11–21. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jdecho/article/view/257538

ธวัชชัย เทียนประทีป. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่ . วารสารวิชาการ AJNU ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 9(2), 20–30. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ajnu/article/view/163630

ทรัพย์ อมรภิญโญ. (2564). การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์จากวัสดุท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม กลุ่มจักสานชุมชนบ้านไชยา หมู่ 4 อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 13(3), 88–101. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/237589

ปุณณดา ทรงอิทธิสุข. และวนัสนันท์ ศิริรัตนะ. (2565). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรสานพบพระทรายงาม ตำบลพบพระ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ . 2(4), 121–138. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/IARJ/article/view/261315

พิมพ์ระวี เรืองวัฒกี. (2558). การศึกษาภูมิปัญญาการสานพัดไม้ไผ่ของชุมชน อ.บ้านแพรก จ.พระครศรีอยุธยา ตามแนวคิดคติชนวิทยาและอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ไพฑูรย์ งิ้วทั่ง. (2560). ระบบสารสนเทศรวบรวมลายเครื่องจักสาน . วารสารวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 9(10), 11–21. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/JSTNSRU/article/view/89691