เครื่องสับและผสมอาหารสัตว์ต่อพ่วงรถแทรกเตอร์

Main Article Content

นายมานพ ดอนหมื่น
นายโยธิน สุริยมาตร
เจษฎา คำภูมี
ปริญญวัตร ทินบุตร

บทคัดย่อ

งานวิจัยออกแบบและสร้างเครื่องสับและผสมอาหารสัตว์ต่อพ่วงรถแทรกเตอร์ สามารถสับอาหารสด เช่น ต้นข้าวโพด หญ้าเนเปียร์ เป็นต้น นอกจากนั้นยังสามารถผสมอาหารแห้งได้ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้าง และหาประสิทธิภาพของเครื่องสับและผสมอาหารสัตว์ต่อพ่วงรถแทรกเตอร์ แนวคิดการพัฒนาใช้หลักการออกแบบทางวิศวกรรม เครื่องมีความแข็งแรง โดยใช้วัสดุและชิ้นส่วนที่หาได้ง่ายตามท้องตลาด เป็นเครื่องที่สามารถสับอาหารและผสมอาหารสัตว์ได้โดยใช้ต้นกำลังจากรถแทรกเตอร์ มีความจุถังผสม 100 กิโลกรัม ผู้วิจัยได้นำเครื่องไปทดสอบกับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม กรณีศึกษาในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เป็นลักษณะฟาร์มขนาดเล็ก มีโคนมจำนวน 20 ตัว ผลการทดสอบผสมอาหารแห้งพบว่าที่ปริมาณส่วนผสม 100 กิโลกรัม ใช้เวลาเฉลี่ย 7 นาที ใช้เวลาผสมเร็วกว่าแรงงานคนโดยเฉลี่ย 2 เท่า สามารถลดต้นทุนการซื้ออาหารข้นจากราคา 35 บาทต่อกิโลกรัม เหลือ 10 บาทต่อกิโลกรัม หรือสามารถประหยัดต้นทุนได้ 182,142.29 บาทต่อปี เมื่อพิจารณาการลงทุนซื้อเครื่องสับและผสมอาหารสัตว์ต่อพ่วงรถแทรกเตอร์มาใช้งาน พบว่ามีระยะเวลาการคืนทุน 0.378 ปี หรือประมาณ 4.54 เดือน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณรงค์เดช ซื่อสกุลรัตน์ และ สามารถ บุญอาจ. (2561). “เครื่องปลูกมันสำปะหลังแบบใช้กับรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก.”

วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย. 24(1) : 1-5.

ธีรพจน์ แนบเนียน (2566). “เครื่องผสมอาหารสัตว์แบบถังหมุนโดยใช้พลังงานก๊าซชีวภาพ.”

Life Sciences and Environment Journal. 24(2) : 469-481.

ไพโรจน์ นะเทียง. (2556). “ผลจากการใช้เทคโนโลยีเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับการปลูกข้าวแบบนาน้ำตม.”

Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences). 6(1) : 15-30.

มานพ ดอนหมื่น อลิษา เกษทองมา โยธิน สุริยมาตร และ เจษฎา คำภูมี. (2565). “การปรับปรุงประสิทธิภาพใน

กระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล.” วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี.

(1) : 36-47.

วรัญญู ทองเพชร, ฉัตรชัย วระธงชัย, จตุพงษ์ อ่อนเรือง, ธนาวุฒิศิริ เอี่ยมตระกูล และ กิ่งกาญจน์ สระบัว. (2564). “การออกแบบและพัฒนเครื่องสับย่อยหญ้เนเปียร์สำหรับผลิตอาหารสัตว์.”

Journal of Industrial Technology Buriram Rajabhat University. 3(2) : 20-29.

วุฒิพล จันทร์สระคู, ศักดิ์ชัย อาษาวัง, ขนิษฐ์ หว่านณรงค์, ธนกฤต โยธาทูล และ ประยูร จันทองอ่อน. (2559). “การพัฒนาเครื่องปลูกสับปะรดแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ขนาดกลาง.”

Thai Agricultural Research Journal. 34(2) : 114-124.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมปศุสัตว์. (2560). “ข้อมูลจำนวนปศุสัตว์ในประเทศไทย ปี 2560.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://ict.dld.go.th/webnew/ index.php/th/service-ict/report

/355-report-thailand-livestock/animal-book/1802-2566. สืบค้น 5 มกราคม 2567.

ศุภชัย แก้วจันทร์ สุมณฑา จีระมะกร และ ขนิษฐา สีมา. (2566). “การพัฒนาประสิทธิภาพเครื่องสับย่อยพร้อม

อัด แท่งหญ้าเนเปียร์ที่เหมาะสมต่อการขนย้ายและยืดอายุหญ้าเนเปียร์สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจเกษตรกรโคเนื้อ จังหวัดสุรินทร์.” วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

(1) : 56-70.

อภิชาติ ศรีชาติ วีระพล แก้วก่า และกวีพงษ์ หงส์ทอง (2562). “การพัฒนาเครื่องผสมอาหารสัตว์แนวนอน

ด้วยใบกวน 2 ชั้น.” วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ. 5(2) : 38-48.

อัศวิน สืบนุการณ์, ภูเมศร์ นิยมมาก, วัชรากรณ์ จันโสม และ นันทพัทธ ปัดภัย. (2564). “การทดสอบประสิทธิภาพ เครื่องสับอเนกประสงค์เพื่อการเกษตร.” วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 6(1) : 1-7.