การพัฒนาคุณภาพถ่านอัดแท่งจากกะลามะพร้าวผสมกะลาปาล์มโดยใช้แป้งมันสำปะหลังเป็นตัวเชื่อมประสาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาคุณภาพถ่านอัดแท่งกะลามะพร้าวด้วยการผสมกับกะลาปาล์ม โดยจะแทนที่ผงถ่านกะลามะพร้าวด้วยผงถ่านกะลาปาล์มในอัตราส่วนร้อยละ 0, 25, 50, 75 และ 100 โดยน้ำหนัก ใช้อัตราส่วนแป้งมันสำปะหลังต่อผงถ่านเท่ากับ 1 : 10 ทำการทดสอบคุณภาพถ่านอัดแท่ง ได้แก่ ปริมาณความชื้นและค่าความร้อน จากผลการศึกษาพบว่าการเพิ่มปริมาณผงถ่านกะลาปาล์มจะทำให้ถ่านอัดแท่งกะลามะพร้าวมีค่าความร้อนเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปริมาณความชื้นจะมีค่าลดลง ถ่านอัดแท่งกะลามะพร้าวผสมกับกะลาปาล์มทุกส่วนผสมผ่านเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนถ่านอัดแท่ง 238/2547 และสามารถนำไปใช้งานให้ความร้อนในครัวเรือนรวมทั้งนำไปใช้เชิงพาณิชย์ได้
Article Details
References
กิตติชาติ เผ่าพงษ์ไพบูลย์, กรกนก บุญเสริม และวีระ หอสกุลไท. (2566). “การพัฒนาสมบัติทางกลและทางกายภาพของถ่านอัดแท่งจากเมล็ดยางพาราโดยผสมกับกะลามะพร้าวเพื่อใช้เป็นพลังงานทางเลือก.” วารสารวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม. 16(1): 158-167.
กระทรวงพลังงาน. (2566). รายงานประจำปี 2565 กระทรวงพลังงาน. กรุงเทพฯ : กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน.
รุ่งโรจน์ พุทธีสกุล, อุปวิทย์ สุวคันธกุลม และอัมพร กุญชรรัตน์. (2553). “การผลิตถ่านอัดแท่งจากถ่านกะลามะพร้าวและถ่านเหง้ามันสำปะหลัง.” วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา. 4(2): 18-28.
ศตพล มุ่งคํ้ากลาง. (2559). “การหาประสิทธิภาพของแท่งเชื้อเพลิงจากถ่านกะลามะพร้าวและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในการประกอบอาหาร.” วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม : เทพสตรี I-TECH. 11(1): 59-67.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2547). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนถ่านอัดแท่ง มผช.238/2547. กรุงเทพฯ : กระทรวงอุตสาหกรรม.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2565). “ข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตร.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.oae.go.th. สืบค้น 26 มกราคม 2567.
อับดุลเล๊าะ ดีแม, อับดุลเลาะ ตาแกะ, โรซวรรณา เซพโฆลาม และนินนาท์ จันทร์สูรย์. (2564). “การศึกษาประสิทธิภาพของถ่านอัดแท่งจากกะลามะพร้าวผสมถ่านไม้ยางพารา.” ในการประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายภาคใต้ ครั้งที่ 6 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับวิถีชีวิตใหม่เพื่อความยั่งยืน 1-2 เมษายน 2564. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. สงขลา. 88-94.
Bonsu, B. O., Takase, M., and Mantey, J. (2020). “Preparation of charcoal briquette from palm kernel shells: case study in Ghana.” Heliyon. 6(10): e05266.
Chumsang, C., and Upan, P. (2014). “Production of charcoal briquettes from palmyra palm waste in kirimat district, sukhothai province, thailand.” Applied Environmental Research. 36(3): 29-38.
Kongprasert, N., Wangphanich, P., and Jutilarptavorn, A. (2019). “Charcoal briquettes from Madan wood waste as an alternative energy in Thailand.” Procedia Manufacturing. 30: 128-135.
Laloon, K., Sudajan, S., and Junsiri, C. (2013). “Studies on charcoal block production from three charcoal types of biomass employing screw press unit.” Advanced Materials Research. 690, 1265-1274.
Ugwu, K. E., and Agbo, K. E. (2011). “Briquetting of palm kernel shell.” Journal of Applied Sciences and Environmental Management. 15(3): 447-450.