การพัฒนาการเรียนรู้ เรื่องวงจรคอมบิเนชัน ด้วยโปรแกรมจำลองวงจรดิจิทัล ผ่าน Google Classroom

Main Article Content

คมยุทธ ไชยวงษ์
ศิวกร แก้วรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอน เรื่องวงจรคอมบิเนชัน ด้วยโปรแกรมจำลองวงจรดิจิทัล ผ่าน Google Classroom   ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนจากการจัดการเรียนการสอน และศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาอุตสาหกรรมศิลป์ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาดิจิทัลเบื้องต้น ภาคการศึกษาที่ 1/2565 จำนวน 15 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องวงจรคอมบิเนชัน ด้วยโปรแกรมจำลองวงจรดิจิทัล ผ่าน Google Classroom   แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของการจัดการเรียนการสอน เท่ากับ 0.7025 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผู้เรียนมีความพึงพอใจโดยรวมต่อการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.51, S.D. = 0.72)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรวรรณ สืบสม และนพรัตน์ หมีพลัด. (2560). “การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped classroom) ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียผ่าน Google Classroom”. APHEIT JOURNAL. 6(2) : 118-127.

ชไมพร บูรณะกิติ สุระศักดิ์ เวียงดินดำ และศิวกร แก้วรัตน์. (2566). “การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ โดยผ่าน Google classroom รายวิชาการงานอาชีพ เรื่อง เครื่องมือและอุปกรณ์ช่างพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกวางโจนศึกษา ตำบลกวางโจน อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ”. รายงานสืบ

เนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ราชภัฏเลยวิชาการ ครั้งที่ 9. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

(หน้า1,778-1,783).

เชิญตะวัน สุวรรณพานิช. (2556). “ห้องเรียนกลับด้านขานรับความคิดใหม่จาก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.taamkru.com/th. สืบค้น 23 พฤษภาคม 2565.

ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2554). เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผลิตตำราเรียน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

พิมพ์วิภา มะลิลัย ดำรัส อ่อนเฉวียง และสุขมิตร กอมณี. (2563). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาภาษาจีนกลาง

เรื่องพินอินด้วย Google Classroom สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษา

มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ยืน ภูวรวรรณ และสมชาย นาประเสริฐชัย. (2546). ไอซีทีเพื่อการศึกษา. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ร่มฉัตร ขุนทอง (2566). “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษา ที่มีต่อการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยแอปพลิเคชัน Google Classroom โดยใช้ T5 Mode”. Journal of Information and Learning. 34(1) : 111-119.

รัตนะ บัวสนธ์. (2552). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลวน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร :

สุวีริยาสาสน.

วิทยา วาโย และอภิรดี เจริญนุกูล ฉัตรสุดา กานกายันต์ จรรยา คนใหญ่. (2563). “การเรียนการสอนแบบออนไลน์

ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน”. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 14(34) : 285-298.

ศุภเศรษฐ์ พึ่งบัว. (2562). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์วิชาอินเทอร์เน็ตด้วยแอปพลิเคชั่น Google classroom

สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนการงานอาชีพ

และเทคโนโลยี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.