การพัฒนาความสามารถในการถ่ายภาพดิจิทัลด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา

Main Article Content

เพ็ญนภา คำแพง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผล  (E.I) ของการถ่ายภาพดิจิทัลด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์  2) เพื่อศึกษาการคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนภาพดิจิทัลด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการถ่ายภาพดิจิทัลด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา การถ่ายภาพดิจิทัล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 30 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ แบบทดสอบการคิดสร้างสรรค์ และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) และการทดสอบโดยใช้สถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า (1) ดัชนีประสิทธิผล (E.I) ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์มีค่าเท่ากับ 0.5 แสดงว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 50 (2) การคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนคิดเป็นร้อยละ 82.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (3) ความพึงพอใจของผู้เรียนอยู่ในระดับ มากที่สุด (  = 4.68, S.D. = 0.49)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลชนก พูลสวัสดิ์ รุ่งนภา วันเพ็ง ศศธร ห่มซ้าย พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ. (2565). “ปัญญาประดิษฐ์กับ

การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์”. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 21(1 ) : 1-8.

ณรงค์ สังวาระนที ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2564). “ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี

แบบปัญญาประดิษฐ์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

เจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ และเจตคติต่อเทคโนโลยี”. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 13(1) : 112-124.

เบญจพร สัธนรักษาเวศ. (2564). การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ออนไลน์ระบบเปิด(MOOCs)

ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์สําหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วรรณี สุจจิตร์จูล และคณะ. (2565). “ผลการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์ สำหรับเด็ก

ประถมศึกษา”. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 7(10) : 327-338.

สมศรี พุทธธรรมวงศ์. (2563). แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ที่สอดคล้องกับ

ความต้องการของการค้าปลีกยุคใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุจิตตรา จันทร์ลอย. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้การออกแบบเป็นฐาน

ร่วมกับเทคนิคสแคมเพอร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบนวัตกรรมการศึกษาสร้างสรรค์ของ

นักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา

คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาพร วงศ์จิรานุวัฒน์. (2565). การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เทคโนโลยีเสมือนจริงแบบห้องเรียนกลับ

ด้านตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ สำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์ของนักเรียน

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี

การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Guilford, J.P. (1967). “Creativity: Yesterday, today and tomorrow”. The Journal of Creative

Behavior. 1(1) : 3-14.

Nat Coalson (2014). “Digital Photo Editing Workflow – Better Images from Capture to Output”.

[Online]. Available : https://digital-photography-school.com/digital-photo-editing-workflow-better-images-capture-output/. Retrieved March 23, 2023.