การประยุกต์ใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์และการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์พีจีเอสในการพัฒนาโซ่คุณค่าของกลุ่มเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์และการตรวจรับรองมาตรฐานอย่างมีส่วนร่วมของเกษตรกรด้วยระบบคิวอาร์โค้ด (ระบบ QR PGS) ในการพัฒนาโซ่คุณค่าที่เหมาะสมของเกษตรอินทรีย์มาตรฐานพีจีเอส จังหวัดอุบลราชธานี โดยวิธีดำเนินการวิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเกษตรกรสมาชิกเครือข่ายเกษตรอินทรีย์มาตรฐานพีจีเอส จำนวน 5 ราย และคณะกรรมการตรวจรับรองมาตรฐาน 5 ราย การเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านวิธีการการสนทนากลุ่มและการสังเกตการณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งงานวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ 2) อบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบ QR PGS ให้กับกลุ่มตัวอย่างทั้งเกษตรกรและคณะกรรมการตรวจรับรองมาตรฐาน 3) ประยุกต์ใช้ระบบกับการทำงานในการทำงานจริง เช่น การตรวจแปลง และ 4) ประเมินความพึงพอใจต่อการประยุกต์ใช้ระบบ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า เครือข่ายเกษตรอินทรีย์มาตรฐานจีพีเอส ประสบปัญหาการบริหารจัดการที่ขาดประสิทธิภาพและการขาดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค การประยุกต์ใช้ระบบ QR PGS ช่วยให้เกษตรกรและคณะกรรมการตรวจรับรองมาตรฐานจัดการข้อมูลจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงข้อมูลความต้องการของผู้บริโภคเพื่อวางแผนการผลิต ลดระยะเวลาในการตรวจประเมินแปลงเกษตรกรเฉลี่ยจาก 1-3 วัน เหลือเพียง 3-6 ชั่วโมง และช่วยลดต้นทุนในการตรวจรับรองมาตรฐาน ซึ่งการที่ระบบสามารถช่วยเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกระดับเป็นการช่วยพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าที่เหมาะสมให้แก่เครือข่ายเกษตรอินทรีย์มาตรฐานพีจีเอส ผลการประยุกต์ใช้ทำให้เกษตรกรและคณะกรรมการตรวจรับรองมีความพึงพอใจต่อระบบในระดับสูง และเห็นว่าระบบนี้สามารถใช้เป็นมาตรฐานการรับรอง PGS ให้แก่เครือข่ายได้ในอนาคต โดยองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ได้จากงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ในการยกระดับระบบ PGS ไปสู่การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ที่ยั่งยืนในประเทศไทย
Article Details
References
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). แผนปฏิบัติราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570). anyflip. https://anyflip.com/ccrlb/grqg/basic
ชัชพล ขาวจันทร์, ภาคิน รุ่งหลุ่ม, และขวัญยุพา ศรีสว่าง. (2563). ระบบตรวจสอบย้อนกลับในการซื้อผักสดด้วยเทคโนโลยี QR code ร้านภาคินผักสด จ.นครปฐม [เอกสารนำเสนอ]. งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. นครปฐม, ประเทศไทย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). ระบบตรวจสอบย้อนกลับและติดตามผลพืช (Traceability) ขยายโอกาสตลาดสินค้าออร์แกนิกไทย. https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z3045.aspx
สมพล สุขเจริญพงษ์, และ เดช ธรรมศิริ. (2561). การพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับโดยเทคโนโลยีรหัสคิวอาร์และบรรจุภัณฑ์การค้าปลีกสำหรับส้มโอในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 5(1), 67-79.
Aung, M. M., & Chang, Y. S. (2014). Traceability in a food supply chain: Safety and quality perspectives. Food Control, 39, 172–184. https://doi.org/10.1016/j.foodcont.2013.11.007
Carter, N., Bryant-Lukosius, D., DiCenso, A., Blythe, J., & Neville, A. J. (2014). The use of triangulation in qualitative research. Oncology Nursing Forum, 41(5), 545-547. https://doi.org/10.1188/14.ONF.545-547
Chaparro-Africano, A.-M., & Naranjo, S. E. (2020). Participatory system of guarantees – PSG of the Red de Mercados Agroecológicos de Bogotá Región RMABR. A contribution to the sustainability of agroecological producers and markets. International Journal of Agricultural Sustainability, 18(6), 456–472. https://doi.org/10.1080/14735903.2020.1793614
Cuéllar-Padilla, M., Calle, A., Osório-Cano, J. A., & Cuéllar, G. (2022). Participatory guarantee systems: When people want to take part. Sustainability, 14(6), 3325. https://doi.org/10.3390/su14063325
Guanqi, Z., & Husnain, M. (2022). Assessing the role of organic food supply chain traceability on food safety and consumer wellbeing: A mediated-moderation investigation. Frontiers in Psychology, 13, 1073376. https://doi.org/10.3389/fpsyg.2022.1073376
Hruschka, N., Kaufmann, S., & Vogl, C. R. (2023). The benefits and challenges of participating in participatory guarantee systems (PGS) initiatives following institutional formalization in Chile. International Journal of Agricultural Sustainability, 20(7), 1307-1321. https://doi.org/10.1080/14735903.2021.1934364
Hussain Thwalib Sherief, K. M., Moghana Lavanya, S., & Prahadeeswaran, M. (2021). Value chain mapping of organic banana certified under the participatory guarantee systems in Kerala state. The Pharma Innovation Journal, 10(10), 2274–2281. https://doi.org/10.22271/tpi.2021.v10.i10af.8525
IFOAM - Organics International. (2013). Best practice guideline for agriculture & value chains (Version 1.0). https://www.ifoam.bio/sites/default/files/2020-03/best_practice_guideline_v1.0.pdf
International Trade Centre (ITC). (2015). Traceability in food and agricultural products (Vol. 91). https://intracen.org/file/eqm-bulletin-91-2015traceabilityfinal-14oct15webpdf
Kim, S., & Ji, Y. (2018). Gap analysis. In R. L. Heath & W. Johansen (Eds.), The International Encyclopedia of Strategic Communication (pp. 1-6). John Wiley & Sons, Inc. https://doi.org/10.1002/9781119010722.iesc0079
Kos, D., & Kloppenburg, S. (2019). Digital technologies, hyper-transparency and smallholder farmer inclusion in global value chains. Current Opinion in Environmental Sustainability, 41, 56-63. https://doi.org/10.1016/j.cosust.2019.10.011
May, C., Kirchner, C., Moura, F., Castro, & Varini, F. (2019). Participatory Guarantee Systems (PGS): Guidelines. IFOAM - Organics International. https://www.ifoam.bio/sites/default/files/pgs_guidelines_en.pdf
Patton, M. Q. (1999). Enhancing the quality and credibility of qualitative analysis. Health Services Research, 34(5 Pt 2), 1189-1208.
Schleifer, P., & Sun, Y. (2019). Reviewing the impact of sustainability certification on food security in developing countries. Global Food Security, 23, 100337. https://doi.org/10.1016/j.gfs.2019.100337
Sukcharoenpong, S., & Thammasiri, D. (2018). The development of traceability system using QR code technology and retail packaging of pomelos in Nakhon Pathom province. Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University, 5(1), 67–78.
Sukcharoenpong, S., Thammasiri, D., & Chanasuk, K. (2022). Developing a traceability system for safe vegetables of smart farmers in Nakhon Pathom province. Interdisciplinary Research Review, 17(2), 31–36.
Tarjan, L., Šenk, I., Tegeltija, S., Stankovski, S., & Ostojic, G. (2014). A readability analysis for QR code application. Computers and Electronics in Agriculture, 107, 30–37. https://doi.org/10.1016/j.compag.2014.08.015
Wang, R., & Chen, X. (2022). Research on agricultural product traceability technology (economic value) based on information supervision and cloud computing. Computational Intelligence and Neuroscience, 2022, 4687639. https://doi.org/10.1155/2022/4687639
WWF Thailand. (2021). Journey of sustainable consumption and production: A localized approach. https://sgs.tu.ac.th/wp-content/uploads/2023/05/wwf_scp_report_final.pdf