การพัฒนาระบบเกตรอินทรีย์และขับเคลื่อนสู่ระบบการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรรายย่อย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องการพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์และขับเคลื่อนสู่ระบบการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรรายย่อย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์และขับเคลื่อนระบบเกษตรอินทรีย์เกษตรกรรายย่อยอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่เข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมสำหรับเกษตรกรรายย่อย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling ) ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรเกษตรอินทรีย์รายย่อยบ้านดอกแดงตำบลสง่าบ้าน อำเภอคอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 22 คน ใช้ระเบียบวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research, PAR) มีกระบวนการศึกษา 3 ขั้นตอน 1) สนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้นำเกษตรกร เพื่อประเมินแนวทางการพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์ที่เหมาะสม 2) ใช้กระบวนการจัดการความรู้ในการสร้างองค์ความรู้หลักการเกษตรอินทรีย์ และอบรมเชิงปฏิบัติการจากผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรอินทรีย์ ทดลองทำแปลงสาธิตเพื่อส่งเสริมศักยภาพเกษตรกรรายย่อยเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม 3) ทำการตรวจประเมินแปลงเกษตรอินทรีย์ตามขั้นตอนของการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเกษตรกรบ้านดอกแดง ตำบลสง่าบ้าน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีความรู้ในด้านเกษตรอินทรีย์ แต่ยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่เพื่อพัฒนาเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ที่มีมาตรฐาน แนวทางที่เหมาะสมกับการพัฒนากลุ่มเกษตรกรคือพัฒนาเกษตรกรด้านความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานของการทำเกษตรอินทรีย์และฝึกทักษะที่ถูกต้องในการจัดการพื้นที่ตามแนวทางเกษตรอินทรีย์ ผู้วิจัยได้ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายทำให้กลุ่มเกษตรกรตัวอย่างได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาพันธ์เกษตรกรยั่งยืนเชียงใหม่ มีคณะกรรมการสมาพันธ์เป็นที่คำปรึกษาด้านเทคนิคการผลิตรวมถึงถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดการระบบเกษตรอินทรีย์แก่กลุ่มเกษตรกร เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนจัดการพื้นที่การเกษตรเข้าเกณฑ์การรับรองและได้รับการรับรองมาตรฐานแบบมีส่วนร่วมหรือ PGS จำนวน 1 ราย
Article Details
References
กัญญ์พัสวี กล่อมธงเจริญ, โสภณ ฟองเพชร, ปิยวรรรณ สิริประเสริฐศิลป์ และประภัสสร วรรณสถิต. (2564). การศึกษาความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ของร้านอาหารที่ตั้งอยู่ใน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 16(1), 124-148.
คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ. (2563). แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2560- 2565. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.
จินตนา อินทรมงคล. (2559). คู่มือการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมพีจีเอส. บริษัท คอมม่าดีไซน์ แอนด์พริ้นท์ จำกัด.
วชิราภรณ์ สังข์ทอง. (2563). การพัฒนาเครือข่ายการจัดการการเรียนรู้เกษตรยั่งยืนเพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร กรรีศึกษา : ตำบลปากหวาน อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11. (673-687).
วิเชียร เกตุสิงห์. (2556). สถิติที่ใช้ในการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สรธรรม เกตตะพันธุ์, กฤติเดช อนันต์, ดุสิต อธินุวัฒน์ และลักษมี เมตปราณี. (2561). ผลของการใช้ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (พีจีเอส) ในชุมชนเกษตรอินทรีย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 7(4): 333-354.
สวรรค์ มณีโชติ และดุสิต อธินุวัฒนา. (2562). การประยุกต์ใช้ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ภายในชุมชนเกษตรกรรายย่อย. Thai Journal of Science and Technology. 8(5). 454-467.
สำนักงานมาตรฐานการเกษตรและสินค้าแห่งชาติ. (2559, 22 ธันวาคม). การรับรองมาตรฐานงานด้านการตรวจสอบและรับรอง. http://www.acfs.go.th/certificate.php.
อภิชาต ใจอารี. (2561). แนวทางการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารปลอดภัยสำหรับชุมชน : บทสะท้อนจากภาคปฏิบัติการ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 38(5), 1-17.
สุภางค์ จันทวานิช. (2554). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 10. โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Herve, B. (2014). Global Comparative study on interactions between social Processes and Participatory Guarantee Systems. IFOAM - Organics International, Bonn.
IFOAM. (2019). PGS Guidelines: How to Develop and Manage Participatory Guarantee Systems for Organic Agriculture. IFOAM - Organics International, Bonn.