A Study the Wear Resistance of Sliding on Weaving Process

Authors

  • ปริญญา ศรีสัตยกุล rajamangala university of technology krungthep

Keywords:

Wear resistance, sliding, factorial experiment

Abstract

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อออกแบบสร้างเครื่องทดสอบความต้านทานการสึกหรอที่เกิดจากการลื่นไถลตามมาตรฐานของสมาคมวิชาชีพอเมริกันทางด้านการทดสอบวัสดุ (ASTM) จากนั้นดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องทดสอบโดยเปรียบเทียบกับพฤติกรรมการสึกหรอของวัสดุจากการทดสอบ เพื่อยืนยันมาตรฐานความแม่นยำถูกต้องของเครื่องทดสอบ ในการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องทดสอบนั้น จะเป็นการประยุกต์ใช้หลักการออกแบบและวิเคราะห์การทดลอง (DOE) ในการวิเคราะห์เชิงสถิติด้วยเทคนิคการทดลองเชิงแฟกทอเรียล โดยมีพารามิเตอร์เกี่ยวกับชนิดวัสดุของชิ้นงานทดสอบและพารามิเตอร์เกี่ยวกับระยะเวลาการทดสอบการสึกหรอ (60, 120, 180, 240 และ 300 min) แล้วกำหนดให้ผลตอบสนองเป็นน้ำหนักที่หายไปของชิ้นงานทดสอบ ผลการวิเคราะห์เชิงสถิติบ่งชี้ว่า เหล็กสแตนเลสที่ผ่านการฮาร์ดโครมจะมีความสามารถในการต้านทานการสึกหรอ (Wear Resistance) ได้ดีกว่าเหล็กสแตนเลสที่ไม่ผ่านการฮาร์ดโครม

References

[1] Mondal DP, Das S, Rajput V. Effect of zinc concentration and experimental parameters on high stress abrasive wear behaviour of Al–Zn alloys: A factorial design approach. Materials Science and Engineering A 2005; 406: 24-33.

[2] Vasquez H, Lozano K., Soto V., Rocha A. Design of a wear tester for nano-reinforced polymer composites. Measurement 2008; 41: 870-877.

[3] Yousif B F. Design of newly fabricated tribological machine for wear and frictional experiments under dry/wet condition. Materials and Design 2013; 48: 2-13.

[4] Montgomery DC, Design and Analysis of Experiments. 5th, John Wiley & Sons, New York, USA; 2004.

Downloads

Published

2018-07-10

Issue

Section

Research Articles