การแตกหักที่เกิดจาการเสียดสีแบบลื่นไถลของผิวฮาร์ดโครม

Main Article Content

ณภัทร อินทนนท์
ประพันธ์ ยาวระ
ฉัตรแก้ว สุริยะภา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแตกหักของผิวชิ้นงานที่ผ่านกระบวนการชุบฮาร์ดโครมมาก่อน และมีกลไกการเสียดสีแบบลื่นไถลแบบหมุน โดยศึกษาจากชิ้นงานที่เป็นสเตนเลสหล่อ และนำไปชุบฮาร์ดโครม มีความหนาของผิวชุบเท่ากับ 50 ไมครอน การทดสอบการแตกหักครั้งนี้ใช้เครื่องทดสอบที่สร้างขึ้น ตามหลักการของการทดสอบแบบเคลื่อนที่ไปกลับ โดยลูกกลิ้งที่ใช้ทดสอบผลิตจากไนลอน 6,6 แรงที่ใช้กดเท่ากับ 8 นิวตัน ระยะของการเคลื่อนที่เท่ากับ 1.5 เซนติเมตร ความเร็วของการเคลื่อนที่ 250 รอบต่อนาที ระยะเวลาในการทดสอบรวม 640 นาที การวิเคราะห์ผลการทดสอบโดยการวิเคราะห์น้ำหนักที่หายไป และการวิเคราะห์ลักษณะผิวของชิ้นงานด้วยกล้องอิเลคตรอนแบบส่องกวาด ผลการทดสอบพบว่า ชิ้นงานที่ผ่านกระบวนการชุบฮาร์ดโครมมาก่อนจะมีรอยแยกที่ผิวอันเกิดจากความเค้นตกค้างที่เกิดจากกระบวนการชุบ และรอยแยกจะมีขนาดกว้างขึ้น เมื่อระยะเวลาของการทดสอบเพิ่มขึ้น และผิวของชิ้นงานก็จะมีการหลุดออกไปและทำให้น้ำหนักที่หายไปเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Alfred Z. Wear patterns and laws of wear. Journal of Theoretical and Applied Mechanics, 2006;44(2), 219 - 253.

[2] Lei H, Hiroyuki A, Masahiko K and Atsushi S. Fatigue life prediction method for AISI 316 stainless steel under variable-amplitude loading considering low-amplitude loading below the endurance limit in the ultrahigh cycle regime. International Journal of fatigue, 2017; 101, 18-26

[3] Tang W, Zhou Y, Zhu H and Yang H. The effect of surface texture on reducing the friction and wear of steel under lubricated sliding contact. Applied Surface Science. 2013; 273, 199-204

[4] Srisattayakul P, Saikaew C and Wisitsoraat A, Reciprocating two-body abrasive wear behavior of DC magnetron sputtered Mo-based coatings on hard-chrome plated AISI 316 stainless steel. Wear, 2017; 379, 96-105

[5] ASTM Standard G133-05 (Reapproved 2010), “Standard Test Method for Linearly Reciprocating Ball-on-Flat Sliding Wear”ASTM International, West Conshohocken, PA, 2010

[6] Williams JA and Dwyer-Joyce RS Contact between solid surface. [Online] home.ufam.edu.br/berti/ nanomateriais/8403_PDF_CH03.pdf, 2001

[7] Wikipedia. Contact Mechanics. [online] en.wikipedia.org/wiki/Contact_mechanics, 2018