การศึกษาสมบัติทางกลและส่วนผสมทางเคมีของรอยเชื่อมเหล็กรางรถไฟ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาและเปรียบเทียบสมบัติทางกล และส่วนผสมทางเคมีของผงเทอร์มิต 2 ยี่ห้อ เพื่อระบุส่วนผสมของผงเทอร์มิตที่เหมาะสมต่อกระบวนการเชื่อมรางรถไฟในประเทศไทย โดยวิเคราะห์ส่วนผสมทางเคมีของผงเทอร์มิตด้วยวิธีวิเคราะห์การเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ และวิเคราะห์ปริมาณธาตุด้วยวิธีวัดการดูดกลืนแสงของอะตอม โดยแบ่งชิ้นงานรอยเชื่อมออกเป็น 2 ส่วน สำหรับวิเคราะห์หลังการเชื่อมและหลังการให้ความร้อน จากนั้นนำชิ้นงานมาทดสอบความแข็ง ความต้านทานแรงดึง และโครงสร้างจุลภาค พบว่ารอยเชื่อมจากผง เทอร์มิตยี่ห้อ A มีค่าความแข็ง ค่าความต้านทานแรงดึงมากกว่ายี่ห้อ B โดยโครงสร้างจุลภาคของรอยเชื่อมคือ เฟสเพิร์ลไลท์ และเฟอร์ไรท์ ซึ่งจากการทดสอบ พบว่าผงเทอร์มิตทั้ง 2 ยี่ห้อ มีสมบัติทางกลผ่านเกณฑ์การยอมรับของการรถไฟแห่งประเทศไทย อย่างไรก็ตาม หากต้องการงานเชื่อมที่มีคุณภาพดี และมีความสามารถในการเชื่อมที่สูงกว่า ควรเลือกผงเทอร์มิตยี่ห้อ A แม้ว่ายี่ห้อ B มีราคาถูกกว่า 100 บาทต่อ 1 กิโลกรัม แต่อาจมีโอกาสการเกิดโพรงอากาศในรอยเชื่อมได้มากกว่า
Article Details
กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความยินดีที่จะรับบทความจากอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาขาต่างๆ ที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ที่เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในแต่ละบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละบทความเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหา หรือข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
[2] S. Rajanna. Evaluation of Microstructure and Mechanical response of thermite welded rail, International Journal of Innovative Research in Science, Engineering and Technology 2013; Vol. 2, Issue 9: 4775-4782.
[3] F. Sidki, I. Mouallif, A. El Amri, M. Boudlal, et al. Experimental Study of Mechanical Behavior and Microstructural Benchmarking between the Rail and the Thermite weld, International Journal of Engineering Research and Development 2013; Vol. 6, Issue 9: 53-58.
[4] ชนัญชิดา สายชุมดี. การวิเคราะห์โลหะหนัก ในน้ำเสียโดยการใช้เครื่อง AAS. [Internet]. [cited 2017 Jul 9]. available from: https://www2.diw.go.th/Research/เอกสารเผยแพร่/เครื่องAAS.pdf
[5] ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อมาตรฐานและอุตสาหกรรม. การวิเคราะห์องค์ประกอบสารด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์. [Internet]. [cited 2016 Feb 26]. available from: https://science.kmutt.ac.th/sic/index. php/physiccs/16-x-ray-driffraction
[6] บทเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กรรมวิธีทางความร้อนเหล็กกล้า.[Internet]. [cited 2016 Dec 4]. available from:https://www.rmutphysics.com/charud/PDF-learning/2/material/ie2302_ch8. pdf
[7] British Standard. BS EN 14730-1:2006+ A1:2010 Railway applications - Track - Aluminothermic welding of rails. 2010.
[8] AWS D15 Committee on Railroad Welding and Subcommittee on Track Welding. Recommended Practices for the Welding of Rails and Related Rail Components for Use by Rail Vehicles, AWS D15. 2:2003, American Welding Society. United States of America; 2005.
[9] เอกรัตน์ ไวยนิตย์, สยาม แก้วคำไสย์ และศิริวรรณ อ่วมปาน. โลหะวิทยากับรางวิ่งในรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน. บทความศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ 2557; 54.